วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555


     บทความกฎหมายน่ารู้ : ข้อสัญญาที่ (ไม่) เป็นธรรม

                     
  
เมื่อยุคสมัยแปรเปลี่ยนไป การใช้ชีวิตของคนในสังคมก็แปรเปลี่ยนตาม ค่านิยมของวิถีการใช้ชีวิตของคนในต่างประเทศก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ถือเป็น ปัจจัยสำคัญที่ทำให้พฤติกรรมของคนในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ซึ่งอาจสังเกตได้จากสมัยก่อนที่มีการอยู่อาศัยรวมตัวกันเป็นครอบครัวใหญ่ใน อาคารบ้านเรือน แต่เมื่อยุคสมัยแปรเปลี่ยนไป ผู้คนก็พากันเปลี่ยนพฤติกรรมการอยู่อาศัยแบบเดิม ๆ มาเป็นการอยู่อาศัยในพื้นที่จำกัด เช่น หอพัก แฟลต อพาร์ตเม้นต์ หรือคอนโดมิเนียม เป็นต้น ซึ่งแม้ว่า พื้นที่ที่ใช้อยู่อาศัยจะมีพื้นที่จำกัดขึ้น แต่ก็มีความเป็นส่วนตัว และยังสามารถเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางได้สะดวกรวดเร็วขึ้น เนื่องจากมีให้เลือกสรรมากมายหลายแห่ง โดยเฉพาะบริเวณใจกลางเมือง ซึ่งถือเป็นจุดศูนย์กลางของการทำธุรกิจหลากหลายประเภท ซึ่งนับว่า การปรับเปลี่ยนนี้เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถบรรเทาปัญหาเรื่องการจราจรที่ถือว่าเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกสำหรับคนเมืองได้เป็นอย่างดี

และด้วยเหตุนี้เอง การประกอบธุรกิจขายห้องชุด จึงดูจะทวีความสำคัญขึ้นมาเป็นลำดับ ซึ่งในปัจจุบันก็มีโครงการห้องชุดผุดขึ้นมานับไม่ถ้วน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่พอจะมีกำลังทรัพย์ และแสวงหาความสะดวกสบาย และเนื่องจากห้องชุดในแต่ละโครงการมีราคาไม่ได้ต่ำไปกว่าราคาคฤหาสน์หรูใน โครงการบ้านจัดสรรใหญ่ ๆ ดังนั้น จึงได้รับความนิยม และมีการตอบรับเป็นอย่างดีจากคนไทยตลอดจนชาวต่างชาติกระเป๋าหนักที่กำลังมอง หาที่อยู่อาศัย หรือสถานที่ประกอบธุรกิจ หรือแม้กระทั่งซื้อหามาเพื่อเก็งกำไร และสิ่งที่จะขาดไม่ได้เลยสำหรับการซื้อขายห้องชุดกัน ก็คือ เอกสารหลักฐานการซื้อขายห้องชุด ซึ่งประกอบด้วย หนังสือ/สัญญาจองซื้อห้องชุดและสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดซึ่งโดยปกติทั่วไปเจ้าของโครงการก็มักจะจัดไว้เป็นรูปแบบมาตรฐานสำหรับลูกค้าทุกรายเรียบร้อยแล้ว

หนังสือ/สัญญาจองซื้อห้องชุด
หนังสือ/สัญญาจองซื้อห้องชุดหรือที่มักเรียกกันง่าย ๆ จนติดปากกันว่า ใบจองหรือ หนังสือจองเป็นเอกสารหลักฐานระหว่างเจ้าของโครงการ (ผู้รับจอง) และผู้บริโภค (ผู้จองซื้อ) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการซื้อขายห้องชุดกัน โดยมักจะมีการระบุห้องชุดที่ผู้จองซื้อต้องการ พร้อมกับกำหนดข้อตกลงให้ผู้จองซื้อชำระเงินจอง (เงินมัดจำ) ไว้จำนวนหนึ่ง ซึ่งเงินมัดจำนี้อาจจะไม่ได้มีเรียก หรือระบุว่า เป็นเงินมัดจำ แต่หากคู่สัญญาประสงค์จะให้เป็นมัดจำ ก็ย่อมเป็นมัดจำตามกฎหมาย[1] นอกจากนั้นก็จะเป็นข้อตกลงอื่น ๆ ซึ่งที่พบเห็นกันแทบจะทุกหนังสือ/สัญญาจองซื้อห้องชุดก็คือ กำหนดระยะเวลาให้ผู้จองซื้อเข้ามาทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดกับผู้รับจองต่อไป

อย่างไรก็ตาม มัดจำไม่ได้ถือเป็นเงินที่ตกลงกันไว้เพื่อเป็นการชำระหนี้ล่วงหน้า แต่เป็นเพียงหลักฐานที่แสดงว่า หนังสือ/สัญญาจองซื้อห้องชุดนั้นได้ทำกันไว้แล้วจริง อีกทั้งยังเป็นหลักประกันว่า ผู้จองซื้อซึ่งเป็นผู้วางเงินมัดจำจะปฏิบัติการชำระหนี้ต่อผู้รับจองตามข้อ ตกลงในหนังสือ/สัญญาจองซื้อห้องชุดนั้นด้วย[2] ซึ่งมัดจำนี้อาจจะเป็นเงินก้อนโต หรือก้อนเล็ก หรือแม้แต่เป็นสิ่งอื่นใดที่ไม่ใช่เงินก็ไม่ผิดอะไร เพียงแต่จะต้องเป็นสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องมีการส่งมอบกัน[3] ซึ่งก็สุดแล้วแต่ละตกลงกันไว้ แต่ โดยทั่ว ๆ ไป ผู้รับจองก็มักจะเลือกเอาเงินก้อนโตจากผู้จองซื้อไว้ก่อน เผื่อไว้กินเปล่าในกรณีที่ผู้จองซื้อผิดนัดไม่เข้ามาทำสัญญาจะซื้อจะขาย ห้องชุดกับผู้รับจองตามวันเวลาที่ตกลงกันไว้ในหนังสือ/สัญญาจองซื้อห้องชุดนั่นเอง

ผิดสัญญาจอง : ริบมัดจำ???
เมื่อผู้รับจองได้กำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขให้ผู้จองซื้อปฏิบัติการชำระหนี้แล้ว ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไป ก็คงจะไม่พ้นข้อตกลงสำคัญเรื่องกำหนดวันเวลาให้ผู้จองซื้อเข้ามาทำสัญญาจะ ซื้อจะขายห้องชุด หากเมื่อถึงกำหนด ผู้จองซื้อกลับเพิกเฉยเบี้ยวนัด โดยไม่ใช่ความผิดของผู้รับจอง และยอมทิ้งเงินมัดจำก้อนโตที่ได้ชำระให้กับผู้รับจองไปเสียดื้อ ๆ ก็จะถือว่า ผู้จองซื้อผิดนัดผิดสัญญาตามที่ตกลงกันไว้ในเอกสารจองดังกล่าว ซึ่งหากมิได้มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ก็จะทำให้ผู้รับจองมีสิทธิบอกเลิกสัญญา และริบเงินนั้นได้[4] แต่ถ้ามัดจำนั้นสูงเกินไป ศาลอาจจะสั่งให้ริบได้เพียงเท่าที่เสียหายจริงก็ได้[5]

แต่ถ้าผู้จองซื้อยังมุ่งมั่นรักษาสิทธิของตนเอง โดยเข้ามาทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดกับผู้รับจองตามวันเวลาที่กำหนดไว้ใน หนังสือ/สัญญาจองซื้อห้องชุดแต่โดยดี ผู้รับจองก็จะเปลี่ยนฐานะจากการเป็นเพียงผู้รับจองมาเป็นผู้จะขาย และผู้จองซื้อก็จะกลายเป็นผู้จะซื้อ ซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องผูกพันกันตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด[6]ต่อไป

เหตุใดจึงต้องเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย
เหตุที่ไม่เรียกสัญญาที่เป็นการซื้อขายห้องชุดนี้ว่า สัญญาซื้อขายห้องชุดแต่กลับเรียกว่า สัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดก็เพราะว่า โดยทั่วไปสัญญาจะซื้อจะขายมักจะใช้กับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน หรือทรัพย์ที่อยู่ติดกับที่ดินอย่างถาวร หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน (เช่น กรวด หิน ดิน ทราย ฯลฯ) และหมายความรวมไปถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดิน หรือทรัพย์นั้นด้วย (เช่น กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง ฯลฯ)[7] ซึ่งตามกฎหมายคู่สัญญาไม่สามารถทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้เอง แต่จะต้องไปทำที่สำนักงานที่ดินต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งก็หมายถึงการทำหลักฐานกันไว้เป็นหนังสือ และนำไปจดทะเบียนต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดินนั่นเอง จึงจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายกันโดยสมบูรณ์[8] ส่วนสัญญาซื้อขายนั้นจะใช้กับสังหาริมทรัพย์ (ทรัพย์สินที่เคลื่อนที่ได้) เช่น รถยนต์ ฯลฯ รวมทั้งสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย (เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิในเครื่องหมายการค้า ฯลฯ)[9] ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายจะโอนทันทีที่มีการตกลงซื้อขายกันเรียบร้อยแล้ว เว้นแต่จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น[10] ดังนั้น เมื่อห้องชุดถือเป็นอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่ง เราจึงเรียกสัญญาที่เป็นการซื้อขายห้องชุดกันนี้ว่า สัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดแทนที่จะเรียกว่า สัญญาซื้อขายห้องชุด

หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในสัญญาฯ
โดยทั่วไป ผู้จะซื้อแทบจะไม่ต้องเหนื่อยยากกับการจัดร่างสัญญาฯ เลย เนื่องจากผู้จะขายเรียกได้ว่าแทบจะทุกโครงการก็มักจะจัดแบบร่างสัญญาฯ มาตรฐานเอาไว้ให้กับลูกค้าของโครงการอยู่แล้ว ซึ่งผู้จะซื้อจะทำได้อย่างมากก็เพียงเจรจาต่อรองขอแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียด ในส่วนที่ผู้จะขายพอจะยอมรับได้ เช่น งวดการผ่อนจ่ายค่าห้องชุด วัสดุอุปกรณ์ตกแต่งห้องชุด เป็นต้น

แต่หากนำสัญญาฯ มาวิเคราะห์กันดี ๆ แล้ว ก็จะพบว่า หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในสัญญาฯ ของบรรดาเจ้าของโครงการธุรกิจห้องชุดจำนวนไม่น้อยยังขาด ตกบกพร่อง หรือขัดกับประกาศของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค[11] โดยผู้จะขายบางรายก็ตั้งใจจะฝ่าฝืน เนื่องจากเล็งเห็นถึงผลประโยชน์ของตนเป็นหลัก อีกทั้งอำนาจการต่อรองก็มีมากกว่า บางรายก็อาจทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ด้วยเหตุนี้ เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคโดยส่วนรวม เมื่อโครงการใกล้จะเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น หรือเจ้าของโครงการได้ดำเนินการจดทะเบียนอาคารชุดเรียบร้อยแล้ว สคบ. ก็มักจะสุ่มเรียกให้เจ้าของโครงการส่งสัญญาฯ เข้าไปให้ตรวจ เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศของสคบ.[12] อีกทั้งยังเป็นการป้องกันไม่ให้เจ้าของโครงการเอาเปรียบผู้จะซื้อซึ่งเป็น ผู้บริโภคเกินสมควร ด้วยการใช้ข้อความในสัญญาฯที่ไม่เป็นธรรม


ข้อควรปฎิบัติเมื่อถูกฟ้อง





1.      เมื่อถูกฟ้องเป็นจำเลย  ควรปรึกษาทนายความและแต่งตั้งทนายความเพื่อ    
ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทน
2.      เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การ จะต้องยื่นคำให้การภายในกำหนด
ซึ่งระยะเวลาในการยื่นคำให้การนั้นมีความแตกต่างกัน  ดังนี้
      - คดีทั่วไป จำเลยต้องทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่ได้
รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
      - คดีมโนสาเร่ เมื่อศาลออกหมายเรียกไปยังจำเลยให้มาศาลและให้จำเลยให้การ
ในวันมาศาล
-          คดีไม่มีข้อยุ่งยาก ศาลจะกำหนดระยะเวลาให้จำเลยยื่นคำให้การภายในวันใด
วันหนึ่งตามที่ศาลจะเห็นสมควรกำหนดก็ได้
3.      การนับระยะเวลายื่นคำให้การ  จะเริ่มนับตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับหมายเรียก
และสำเนาคำฟ้อง  หรือบุคคลอื่นที่อายุเกิน 20 ปี ซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านหรือที่ทำงานเดียวกับจำเลย  รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแทนจำเลย


อย่างไรก็ตาม  หากเป็นกรณีส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยโดยวิธี
อื่น เช่น เจ้าหน้าที่ศาลปิดหมายเรียกและสำเนาฟ้องไว้ที่บ้านหรือที่ทำงานของจำเลย  หรือประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ การนับระยะเวลาจะเริ่มนับเมื่อพ้น 15 วัน  นับแต่วันปิด หรือวันประกาศโฆษณา กล่าวง่ายๆ ก็คือ  จำเลยได้เวลาเพิ่มอีก 15 วัน
            หากจำเลยไม่สามารถยื่นคำให้การภายในกำหนดได้ เช่น มีเอกสารหลักฐานในการต่อสู้คดีจำนวนมาก   จำเลยก็อาจยื่นคำร้องขอให้ศาลขยายระยะเวลายื่นคำให้การได้โดยต้องมีเหตุผลพิเศษอ้างเหตุที่ขอขยายระยะเวลานั้น  และเป็นดุลพินิจของศาลที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาก็ได้


อ้างอิงhttp://www.library.coj.go.th/tukfong.php





กฎหมายสำหรับผู้รักร่วมเพศ



             ปัญหารักร่วมเพศมิใช่ว่าเพิ่งเริ่มมีขึ้นในปัจจุบัน หากแต่มีมานานแล้ว แม้แต่ในสมัยคริสตกาล๑ กระนั้นก็ตามสังคมบางสังคมในสมัยโบราณก็มิได้ว่าการรักร่วมเพศเป็นเรื่องผิดปกติหรือเสียหายแต่อย่างใด๒ แต่กรณีหลังนี้ ดูจะเป็นข้อยกเว้นมากกว่าหลักทั่วไป เพราะโดยทั่วไปแล้ว ไม่ว่าในสังคมโบราณ หรือแม้แต่ในสังคมปัจจุบันเอง สถานะของผู้รักร่วมเพศยังไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม ตรงกันข้าม กลับถูกมองอย่างเหยียดหยามในสายตาของสังคมทั่วไป บทความนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะสะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติของสังคมในปัจจุบันที่มีต่อสถานะของผู้รักร่วมเพศ โดยจะศึกษาทัศนคติของศาลในประเทศอเมริกา ซึ่งมีปัญหาของผู้รักร่วมเพศอยู่มาก และมีคดีขึ้นสู่ศาลเป็นประจำ และจะศึกษาถึงสถานะของผู้รักร่วมเพศในสายตาของกฎหมายไทย โดยเฉพาะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ ว่าด้วยครอบครัว
          ก่อนที่จะพิจารณาถึงทัศนคติของศาลหรือสถานะทางกฎหมายของผู้รักร่วมเพศ คำถามแรกที่ไม่ควรมองข้าม คือคำถามที่ว่า ทำไมผู้ที่รักร่วมเพศจึงเรียกร้องให้สถานะของตนเป็นที่ยอมรับในสายตาของกฎหมาย คำถามนี้ไม่ว่าในอเมริกาหรือที่อื่นใดในโลก คำตอบคงออกมาทำนองเดียวกัน คือ ประการแรก ผู้รักร่วมเพศต้องการให้กฎหมายรับรองว่าสิ่งดังกล่าวเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากฎหมายเป็นหลักประกันประการสำคัญที่จะทำให้สถานะของตนเป็นที่ยอมรับและประการที่สองก็เป็นผลสืบเนื่องมาจาก ประการแรกกล่าวคือ เมื่อกฎหมายรับรองสถานะของบุคคลดังกล่าวแล้ว ตนจะได้มีสถานะเช่นเดียวกับคู่สมรสต่างเพศทั่วไป ซึ่งได้แก่ประโยชน์ต่างๆ ที่คู่สมรสทั่วไปพึงมีพึงได้ เช่น สิทธิทางทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส สิทธิที่จะได้ลดหย่อนภาษี สิทธิในการเป็นทายาทโดยธรรม สิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในกรณีคู่สมรสถูกทำละเมิด หรือสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแทนคู่สมรสตลอดทั้งสิทธิอื่นๆ ที่คู่สมรสต่างเพศพึงมีพึงได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้รักร่วมเพศจึงต้องการให้สถานะของตนเป็นที่ยอมรับในสายตาของ กฎหมาย จะได้ไม่ต้องเป็นพวก แบบจิตอีกต่อไป ทัศนคติของศาลเกี่ยวกับสถานะของผู้รักร่วมเพศในอเมริกาประเทศอเมริกานับว่าเป็นประเทศที่มีกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายรัฐธรรมนูญรับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติต่างๆ ที่รับรองสิทธิของประชาชนในอันที่จะไม่ถูกแทรกแซง โดยกฎหมายของมลรัฐหรือแม้แต่กฎหมายของสหพันธรัฐ เมื่อใดก็ตามที่สิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนถูกกระทบกระเทือนโดยกฎหมายของมลรัฐหรือแม้แต่ของสหพันธรัฐจะมีการทดสอบเสมอว่ากฎหมายนั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยเหตุที่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสัมพันธ์ทางครอบครับจะเป็นเรื่องที่แต่ละมลรัฐออกกฎหมายกันเอง โดยรัฐบาลกลางมิได้เข้าไปก้าวก่าย กฎหมายเหล่านี้มักจะถูกทดสอบเสมอว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่ว่าด้วยการสมรส ซึ่งผู้รักร่วมเพศมักจะอ้างเสมอว่าตนเองน่าจะมีสิทธิทำการสมรสได้เช่นกัน แม้ว่ากฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์ทางครอบครัวจะเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของมลรัฐแต่ละมลรัฐก็ตาม แต่ก็พอสรุปได้ว่า แนวโน้มส่วนใหญ่มีลักษณะเหมือนกันคือ ถือว่าการสมรสจะมีได้ก็แต่เฉพาะ ชายและ หญิงเท่านั้น และหมายความถึง ชายจริงและ หญิงแท้เพราะกฎหมายยังไม่ยอมรับการสมรสระว่างชายกับชายด้วยกัน หรือหญิงกับหญิงด้วยกัน หรือแม้แต่ชายหรือหญิงที่ได้ผ่าตัดแปลงเพศแล้ว กฎหมายก็ยังไม่ยอมรับว่าเป็น ชายหรือ หญิงในสายตาของกฎหมาย ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างในคดีที่จะกล่าวต่อไป ยิ่งกว่านั้นกฎหมายของบางมลรัฐถึงกับห้ามการสมรสระหว่างบุคคลเพศเดียวกันอย่างชัดแจ้ง เช่น กฎหมายของมลรัฐเท็กซัส๓ เป็นต้น กระนั้นก็ตาม ยังไม่เคยปรากฏว่า มีศาลใด ไม่ว่าของมลรัฐที่ห้ามการสมรสระหว่างบุคคลเพศเดียวกันขัดต่อรัฐธรรมนูญเลยคดีต่างๆ เกี่ยวกับสถานะของผู้รักร่วมเพศที่ขึ้นสู่ศาลในอเมริกา ตลอดทั้งปฏิกิริยาที่ศาลมีต่อสถานะของบุคคลเหล่านั้น พอจำแนกได้เป็นสองประเภท คือ
ประการแรก คือ กรณีที่มีการสมรสเกิดขึ้นแล้ว โดยคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสำคัญผิด หรือ ถูกฉ้อฉลว่าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเพศตรงข้าม แต่มาทราบความจริงในภายหลังว่าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเพศเดียวกับตน
ประการที่สอง คือ กรณีที่ทั้งสองฝ่ายเป็นเพศเดียวกัน และตั้งใจที่จะจดทะเบียนสมรสกัน
ในกรณีแรกนั้น อาจถือว่าเป็นการสมรสโดยสำคัญผิดหรือถูกฉ้อฉลก็ได้ โดยที่ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทราบความจริงแต่แรกก็จะไม่ หลวมตัวทำการสมรสด้วย คดีที่โด่งดังเกิดขึ้นที่ นิวยอร์ค คือ คดี Anonymous V. Anonymous ๔ ศาลสูง นิวยอร์คตัดสินว่า การสมรสระหว่างบุคคลที่มีเพศเดียวกันไม่ถือว่ามีผลในทางกฎหมาย แม้ว่าสามีจะเชื่อว่าภรรยาของตนเป็นเพศหญิงในขณะทำพิธีสมรสก็ตาม ถ้าปรากฏความจริงว่าฝ่ายภรรยาได้ทำการผ่าตัดเปลี่ยนเพศ ศาลให้เหตุผลว่า แม้กฎหมายของมลรัฐนิวยอร์ค๕ จะไม่มีบทบัญญัติห้ามการสมรสระหว่างบุคคลที่เป็นเพศเดียวกันก็ตาม แต่โดยจารีตประเพณีและโดยคำจำกัดความทั่วไปของคำว่า การสมรสแล้ว ย่อมหมายถึงเฉพาะการอยู่ร่วมกันระหว่างบุคคลต่างเพศที่แท้จริงเท่านั้น ศาลไม่อาจตีความเป็นอื่นได้ ดังนั้นจึงไม่อาจถือได้ว่ามีสัญญาสมรสเกิดขึ้นระหว่างโจทก์ ไม่ว่าโดยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายก็ตาม หลังจากคดีนี้ก็มีคดี B.v.B. ๖ ตามมา โดยข้อเท็จจริงปรากฏว่า ฝ่ายภรรยาขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้การสมรสสิ้นสุดโดยอ้างว่าสามีของตนเป็นเพศหญิง ศาลตัดสินว่าไม่มีการสมรสเกิดขึ้น โดยให้เหตุผลว่า ฝ่ายสามีไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เช่นเดียวกับสามีทั่วๆ ไปที่เป็นเพศชายได้๗ และข้ออ้างของฝ่ายสามีที่ขอหย่าจึงตกไป เพราะเมื่อไม่มีการสมรสก็ไม่อาจมีการหย่าได้ และในคดี Corbett v Corbett ๘ ศาลตัดสินว่าการสมรสระหว่างชายกับชายโดยที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ผ่าตัดแปลงเพศเป็นหญิงเป็นโมฆะ โดยศาลให้เหตุผลว่า แม้จะมีการเปลี่ยนอวัยวะเพศแล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผู้ที่เปลี่ยนอวัยวะเพศกลายเป็นชายหรือหญิงตามนัยของกฎหมายได้
ส่วนในกรณีที่สอง ปรากฏในคดี Baker v. Nelson ๙ ศาลสูงแห่งมลรัฐมินิโซต้า เป็นศาลแรกที่ตัดสินคดีการขอจดทะเบียนสมรสระหว่างบุคคลเพศเดียวกัน โดยศาลดังกล่าวปฏิเสธข้ออ้างของผู้ร้องที่ว่าไม่มีกฎหมายของมลรัฐบัญญัติห้ามการสมรสระหว่างบุคคลเพศเดียวกัน และศาลได้อ้างเหตุผลเช่นเดียวกับในคดี Anonymous ว่าโดยจารีตประเพณีและโดยคำจำกัดความของคำว่า การสมรสหมายความถึงการสมรสระหว่างบุคคลต่างเพศเท่านั้น ศาลยังปฏิเสธด้วยว่าผู้ร้องถูกริดรอนสิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ เมื่อศาลไม่ยอมให้ผู้ร้องทำการสมรส คดีต่อมาคือ คดี Jones v. Hallhan ๑๐ ซึ่งหญิงกับหญิงต้องการจดทะเบียน แต่ศาลอุทธรณ์มลรัฐเคนตั๊กกี้ปฏิเสธที่จะให้มีการจดทะเบียนสมรส โดยอ้างจารีตประเพณี และคำจำกัดความของคำว่า การสมรสเช่นเดียวกับในคดี Baker ๑๑ และในคดี Singer v. Hara ๑๒ ศาลแห่งมลรัฐวอชิงตันได้ปฏิเสธที่จะให้มีการจดทะเบียนสมรสระหว่างุคคลเพศเดียวกัน โดยให้เหตุผลเดียวกับคดี Baker และศาลยังวินิจฉัยต่อไปถึงสิทธิพื้นฐานของผู้ร้องด้วย โดยเฉพาะบทบัญญัติแห่งกฎหมายครอบครัวของมลรัฐซึ่งบัญญัติว่า การสมรสเป็นสัญญาระหว่าง บุคคลที่มีอายุ ๑๘ ปี ...๑๓ และ โดยที่กฎหมายใช้คำว่า บุคคลนี้เอง ทำให้ผู้ร้องในคดีนี้อ้างว่า กฎหมายมิได้ใช้คำว่า ชายหรือ หญิงแต่ใช้คำกลางๆ ว่า บุคคลดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลใดที่ศาลจะปฏิเสธการสมรสระหว่างบุคคลเพศเดียวกัน แต่ศาลกลับไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างดังกล่าว โดยศาลให้เหตุผลว่า แม้กฎหมายจะใช้คำว่า บุคคลก็ตาม แต่การสมรสนั้นจะต้องมีทะเบียนสมรส ซึ่งหมายถึงทะเบียนสมรสระหว่างชายและหญิงเท่านั้น ศาลจึงไม่อนุญาตให้มีการจดทะเบียน ศาลได้วินิจฉัยต่อไปด้วยว่า การที่ผู้ร้องถูกปฏิเสธมิให้ทำการสมรสนั้น มิใช่เพราะผู้ร้องถูกกีดกันทางเพศแต่อย่างใด หากเป็นเพราะ ธรรมชาติหรือ สภาพของการสมรสเองมากกว่า
พอจะสรุปได้ว่า แนวโน้มของศาลในประเทศอเมริกานั้น ยังไม่ยอมรับการสมรสระหว่างบุคคลเพศเดียวกัน โดยอ้างจารีตประเพณีที่ปฏิบัติกันมาบ้าง อ้างคำจำกัดความตามพจนานุกรมต่างๆ บ้าง และถึงแม้ตัวบทกฎหมายจะเปิดโอกาสให้ศาลตีความได้กว้างขวางเพียงใดก็ตาม ศาลก็ไม่ต้องการตีความให้กว้างถึงขนาดยอมให้บุคคลเพศเดียวกันทำการสมรสกันได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ศาลในคดีต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นมิได้วินิจฉัยเลย คือ ปัญหาที่ว่าทำไมบุคคลเพศเดียวกันจึงไม่สามารถสมรสกันได้ มีเหตุผลอื่นใดนอกเหนือจากจารีตหรือ คำจำกัดความหรือไม่ ที่ไม่ยอมให้บุคคลดังกล่าวสมรสกัน อะไรคือสาระสำคัญหรือวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการสมรส หรือว่าบุคคลเหล่านี้ถูกกีดกันโดยค่านิยมเก่าๆ หรือ อคติส่วนตัวโดยปราศจากเหตุผลอื่นใดมาสนับสนุน
สถานะของผู้รักร่วมเพศตามกฎหมายไทย
บทบัญญัติในมาตรา ๑๔๔๘ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ บัญญัติว่า การสมรส จะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว ....ถ้าพิจารณาเผินๆ เหมือนกับว่ากฎหมายได้บัญญัติไว้ชัดเจนแล้วว่าการสมรสจะมีได้ก็แต่ระหว่าง ชายกับ หญิงเท่านั้น กระนั้นก็ตาม ตัวบทมาตรา ๑๔๔๘ ยังเปิดช่องให้คิดต่อไปได้ว่า คำว่า ชายและ หญิงนั้นมีความหมายเพียงใด จะหมายความถึงเฉพาะ ชายจริง” “ หญิงแท้หรือ รวมถึง ชายเทียม” “ หญิงเทียมด้วยหรือไม่ เพราะบุคคลสองประเภทหลังนี้นอกจากสภาพจิตใจจะกลายเป็นเพศตรงข้ามแล้ว สภาพร่างกายก็กลายเป็นเพศตรงข้ามไปด้วยโดยการผ่าตัดเปลี่ยนเพศ ซึ่งมิใช่เรื่องยุ่งยากแต่อย่างใด ในสมัยที่วิทยาการทางการแพทย์เจริญก้าวหน้าอย่างในปัจจุบัน
อย่างไรก็ดี ปัญหานี้ยังไม่เคยมีการศึกษาอย่างละเอียดจริงจัง แม้แต่ในตำรากฎหมายครอบครัวเองก็มิเคยกล่าวถึงปัญหานี้เลย และคดีทำนองเดียวกับที่เกิดในศาลอเมริกาก็ไม่เคยขึ้นสู่ศาลไทยมาก่อน แต่ถึงแม้จะมีคดีขึ้นสู่ศาลไทย ผู้เขียนก็เชื่อว่าผลของการตัดสินคงเป็นทำนองเดียวกับศาลในอเมริกา และก็อาจอ้างเหตุผลทำนองเดียวกับศาลในอเมริกาด้วยก็เป็นได้ ทั้งนี้และทั้งนั้นก็เนื่องจากค่านิยมของสังคมไทยในเรื่องครอบครัวค่อนข้างละเอียดอ่อนกว่าในสังคมตะวันตกมาก เพราะขนบธรรมเนียมก็ดี การอบรมสั่งสอนก็ดี ต่างมีอิทธิผลมากต่อทัศนคติของคนในสังคมไทยอย่างมาก
กระนั้นก็ตาม ในอนาคตข้างหน้าหรือแม้แต่ในปัจจุบันเอง นักกฎหมายต้องเผชิญกับปัญหาของผู้รับร่วมเพศอย่างแน่นอน และนักกฎหมายผู้มีความรับผิดชอบคงไม่ปล่อยให้ปัญหานี้ผ่านไปโดยไม่หาทางแก้ไข หรือปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้อื่นที่ต้องรับผิดชอบต่อไป โดยที่นักกฎหมายกลับไม่มีบทบาทเลยทั้งๆ ที่ปัญหาดังกล่าวท้าทายนักกฎหมายมากกว่าคนในวงการอื่นเสียอีก ดังนั้น ในส่ว่นที่จะกล่าวต่อไปนี้จะได้กล่าวถึงสถานะทางกฎหมายครอบครัวของผู้รับร่วมเพศตามกฎหมายครอบครัวปัจจุบันว่าเอื้ออำนวยต่อสถานะของ ผู้รักร่วมเพศมากน้อยเพียงใด ซึ่งในการศึกษาสถานะของผู้รักร่วมเพศตามกฎหมายครอบครัวนี้ อาจแยกพิจารณาได้เป็นสองประเด็น
ประเด็นแรก เป็นกรณีที่บุคคลเพศเดียวกันจะทำการสมรส
ประเด็นที่สอง เป็นกรณีที่มีการสมรสเกิดขึ้นแล้ว โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสำคัญผิด หรือ ถูกฉ้อฉล ในประเด็นแรก หากบุคคลเพศเดียวกันไม่ว่าจะเป็นชายด้วยกันหรือหญิงด้วยกันจะทำการสมรสตามนัยแห่งมาตรา ๑๔๔๘ ประวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คงถือไม่ได้ว่ามีการสมรสเกิดขึ้น เพราะมาตรา ๑๔๔๘ ใช้คำว่า ชายและ หญิงซึ่งอย่างน้อยที่สุดก็ต้องเป็นกรณีที่มีร่ายกายเป็นชายและหญิงมิใช่มีร่างกายเป็นชายหรือหญิงทั้งคู่ แต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีจิตใจเป็นหญิง แต่ปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลที่จะทำการสมรสกันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ทำการผ่าตัดแปลงเพศทำให้สภาพร่างกายเป็นหญิงหรือชายได้ กรณีนี้จะถือได้หรือไม่ว่า ผู้ที่ทำการผ่าตัดแปลงเพศนั้นเป็น ชายหรือ หญิงตามนัยมาตรา ๑๔๔๘ ปัญหานี้ขึ้นอยู่กับการตีความกฎหมาย คำว่า ชายและ หญิงว่าจะหมายความเฉพาะแต่ ชายจริง” “ หญิงแท้แต่โดยกำเนิดเท่านั้น หรือจะหมายความรวมถึง ชายเทียม” “ หญิงเทียมที่ผ่าตัดแปลงเพศในภายหลังด้วย ยังไม่เคยปรากฏว่ามีปัญหาทำนองนี้ขึ้นสู่ศาลไทยมาก่อน แต่ถ้าพิจารณาจากแนวคำพิพากษาของศาลในอเมริกาแล้ว จะเห็นได้ว่า ศาลไม่ตีความคำว่า ชายและ หญิงก็ตาม (คดี Singer v. Hara) ศาลก็ยังตีความคำว่า บุคคลให้หมายความถึงแต่เฉพาะ ชายจริงและ หญิงเท้เท่านั้น อย่างไรก็ดี ยังได้กล่าวแล้วข้างต้นว่า ในการตีความนี้ ศาลมิได้วินิจฉัยถึงสาระสำคัญหรือวัตถุประสงค์ของการมีครอบครัวมาประกอบการพิจารณา เพราะถ้าศาลนำสิ่งเหล่านี้มาประกอบการพิจารณา ศาลอาจตีความคำว่า ชายหรือ หญิงให้รวมถึงบุคคลที่ผ่าตัดแปลงเพศด้วยก็ได้  
ในประเด็นที่สอง ถ้าเป็นกรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจดทะเบียนสมรสโดยสำคัญผิดหรือถูกฉ้อฉล และคู่สมรสฝ่ายนั้นมารู้ความจริงในภายหลังว่า คู่สมรสของตนนั้นเป็นเพศเดียวกับตน และได้ผ่าตัดแปลงเพศ ปัญหามีว่าการทดทะเบียนสมรสดังกล่าวจะมีผลทางกฎหมายประการใดหรือไม่ สำหรับปัญหานี้ ต้องดูว่าสาระสำคัญของคำว่า การสมรสตามนัยมาตรา ๑๔๔๘ ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของคู่สมรสว่าต้องเป็นชายโดยกำเนิดหรือหญิงโดยกำหนิดหรือไม่ ถ้าขึ้นอยู่กับคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว ความรู้หรือไม่รู้ของคู่สมรสก็มิใช่สาระสำคัญแต่อย่างใด เพราะตราบใดที่คู่สมรสมิใช่ ชายจริง” “ หญิงแท้แล้ว ก็ย่อมถือไม่ได้ว่ามีการสมรสเกิดขึ้น สิ่งที่นายทะเบียนออกให้จึงไม่ถือว่าเป็นทะเบียนสมรส คงไม่ต่างจากกระดาษธรรมดาๆ ใบหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าหากคำว่า ชายและ หญิงมีความหมายรวมถึงบุคคลที่แปลงเพศด้วยแล้ว จะถือว่าไม่มีการสมรสเกิดขึ้นคงไม่ได้ แต่มีปัญหาว่าการสมรสโดยสำคัญผิดเช่นนั้นเป็นการสำคัญผิดในตัวบุคคล (มาตรา ๑๕๐๕) ซึ่งจะทำให้การสมรสเป็นโมฆียะ หรือว่าเป็นการสำคัญผิดใน คุณสมบัติของบุคคลซึ่งไม่ทำให้การสมรสเสื่อมเสียไป เพราะไม่มีกฎหมายบัญญติให้การสมรสเสื่อมเสียเพราะเหตุสำคัญผิดในคุณสมบัติของคู่สมรส แต่ถ้าเป็นกรณีฉ้อฉล (มาตรา ๑๕๐๖) ก็ดูแต่เพียงว่าถึงขนาดหรือไม่เท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องนำข้อเท็จจริงมาพิสูจน์กัน แต่จะเห็นได้ว่าในคำพิพากษาของศาลอเมริกานั้น ในคดี Anonymous ศาลมิได้แยกหรือชี้ให้ชัดเจนไปว่า การสำคัญผิดในเพศของคู่สมรสนั้นเป็นการสำคัญผิดในตัวคู่สมรสหรือเป็นการสำคัญผิดในคุณสมบัติของคู่ขึ้น แต่ศาลก็ตัดสินว่าไม่มีการสมรสเกิดขึ้น เพราะตราบใดที่คู่สมรสมิใช่ชายจริงและหญิงแท้แล้ว ก็มิต้องพิจารณาต่อไปว่าการสมรสจะเกิดขึ้นโดยสำคัญผิดหรือฉ้อฉลหรือไม่
และถึงแม้คู่สมรสทั้งสองฝ่ายต่างสำคัญผิดซึ่งกันและกัน หรือต่างฉ้อฉลซึ่งกันและกัน เช่น ฝ่ายชายคิดว่าคู่สมรสอีกฝ่ายเป็นหญิงในขณะที่ฝ่ายหลังก็คิดว่าอีกฝ่ายเป็นชาย ผลในทางกฎหมายคงอธิบายได้เช่นเดียวกันคือ ถ้าคุณสมบัติของการสมรสอยู่ที่ความเป็นหญิงและชายโดยกำเนิด การสมรสก็ไม่เกิดขึ้นเลย แต่ถ้าคุณสมบัติของผู้ที่จะทำการสมรสมิได้จำกัดเพียงชายหรือหญิงโดยกำเนิด ถ้าเป็นกรณีสำคัญผิดก็อาจทำให้การสมรสเป็นโมฆียะได้ ( ถ้าการสำคัญผิดในเพศถือเป็นการสำคัญผิดในตัวบุคคลตามนัยมาตรา ๑๕๐๕) แต่ถ้าเป็นกรณีที่ต่างฝ่ายต้องฉ้อฉล อาจจะอ้างประโยชน์ตามมาตรา ๑๕๐๖ เพื่อให้การสมรสเป็นโมฆียะไม่ได้ เพราะถือว่าใช้สิทธิโดยไม่สุจริต (มาตรา ๕) ทั้งคู่ก็ได้
การพิจารณาผลในทางกฎหมายดังกล่าวข้างต้นนี้ เป็นการพิจารณาที่มิได้เป็นเด็ดขาดหรือยุติแต่ประการใด เพราะการที่จะมีผลทางกฎหมายเป็นอย่างใดนั้น ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในการตีความด้วย และในการตีความจะพิจารณาโดยใช้เหตุผลทางตรรกวิทยาอย่างเดียวไม่ได้ ต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ โดยเฉพาะทัศนคติหรือแนวปฏิบัติของสังคมประกอบด้วย หรือ จะต้องดูผลกระทบที่จะเกิดต่อผู้รักร่วมเพศประกอบด้วย เช่น ปัญหาที่ว่าบุคคลที่ทำการผ่าตัดแปลงเพศจะกลายเป็นบุคคลที่ถูกลืม เพราะตนเองจะสมรสกับใครไม่ได้เลย ไม่ว่ากับชายหรือหญิงก็ตาม เพราะตนเองมิใช่ชายหรือหญิงโดยกำเนิดเสียแล้ว ปัญหานี้เองที่นักกฎหมายควรคำนึงถึงด้วยว่ากฎหมายควรจะยอมรับหรือคุ้มครองบุคคลประเภทนี้มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้และทั้งนั้นก็โดยการพิจารณาถึงสาระสำคัญ หรือวัตถุประสงค์ของการมีครอบครัวว่าเป็นประการใดกันแน่
อะไรคือสาระสำคัญของการมีครอบครัว
การพิจารณาถึงสาระสำคัญของการมีครอบครัว จะช่วยให้เข้าใจถึงธรรมชาติของการมีครอบครัวได้ดียิ่งขึ้น อันจะเป็นสิ่งที่จะนำมาประกอบการตีความกฎหมายหรือสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดทั้งสามารถคุ้มครองสิทธิของบุคคลบางประเภทที่ยังไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายเหมือนคนอื่นๆ แต่ในการพิจารณาถึงสาระสำคัญของการมีครอบครัวยังมีปัญหาต่อไปอีกว่าแนวความคิดใดเป็นแนวความคิดที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากที่สุด อันจะนำไปสู่การคุ้มครอง สิทธิของบุคคลโดยเสมอหน้ากัน
สาระสำคัญประการแรก คือ จะถือหรือไม่ว่าสาระสำคัญของการมีครอบครัวอยู่ที่การสืบชาติพัน์มนุษย์แต่เพียงอย่างเดียว จึงขัดต่อวัตถุประสงค์นี้ แต่สิ่งที่ปรากฏในปัจจุบันคือ ความจำเป็นทางเศรษฐกิจทำให้แนวความคิดดังกล่าวเปลี่ยนไป ดังจะเห็นได้จากการรณรงค์วางแผนครอบครัว หรือโดยการที่รัฐออกกฎหมายสนับสนุนครอบครัวให้มีบุตรน้อย (ในบางประเทศ) เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้ การยอมรับสถานะของผู้รักร่วมเพศจะเป็นปัจจัยเสริมแนวโน้มใหม่ของสังคมหรือไม่ และในบางครั้ง การสมรสระหว่างชายและหญิงเองก็ไม่อาจตอบสนองสาระสำคัญในข้อนี้ได้ เช่น กรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายเป็นหมัน ซึ่งความไม่สามารถสืบชาติพันธุ์มนุษย์ได้เพราะเหตุนี้ก็หาได้ทำให้การสมรสเสื่อมเสสียแต่ประการใดไม่
สาระสำคัญประการที่สอง หากสาระสำคัญของการมีครอบครัวเป็นเรื่องที่กฎหมายต้องการคุ้มครองบุคคลที่ต้องการผูกพันชีวิตอยู่ร่วมกัน ก็ไม่มีเหตุผลใดที่กฎหมายจะไม่ยอมรับรองการใช้ชีวิตร่วมกันของบุคคลที่เป็นเพศเดียวกัน เพราะบุคคลเหล่านี้บางครั้งสามารถแสดงให้เห็นได้ว่ามีความผูกพันที่ยั่งยืนมั่นคงไม่แพ้คู่สมรสต่างเพศเลย และอาจมั่นคงกว่าบางคู่ด้วยซ้ำไป
ถึงแม้กฎหมายจะรับรองสิทธิของผู้รักร่วมเพศในอนาคตข้างหน้าก็ตาม ก็มิได้หมายความว่าปัญหาต่างๆ จะหมดไป ตรงกันข้าง การแก้ไขกฎหมายให้ยอมรับสถานะของผู้รักร่วมเพศมากขึ้น กลับเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาอื่นที่จะตามมา อย่างน้อยที่สุดกฎหมายครอบครัวในปัจจุบันเองจะได้รับความกระทบกระเทือนในหลายๆ ส่วน นอกจากนี้ กฎหมายอื่นๆ ก็จะได้รับความกระทบกระเทือนไปด้วย บางทีถึงกับกลัวไปว่าชายจะเปลี่ยนเพศเป็นหญิงเพื่อจะได้ไม่ถูกเกณฑ์ทหาร เป็นต้น อย่างไรก็ดี การจะแก้ไขกฎหมายหรือไม่นั้น จำต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น ขนบธรรมเนียมและแนวปฏิบัติของคนในสังคมทัศนคติโดยทั่วไปของคนในสังคมเกี่ยวกับการรักร่วมเพศ ตลอดทั้งผลที่จะตามมาจากการแก้ไขกฎหมายว่ามีผลต่อสังคมมากน้อยเพียงใด ซึ่งปัจจัยทางสังคมนับว่ามีความสำคัญมากต่อการแก้ไขกฎหมาย เพราะกฎหมายและสังคมเป็นของคู่กัน ไม่อาจจะแยกอันใดอันหนึ่งโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่ออีกอันหนึ่งได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
www.lawonline.co.th
อ้างอิง


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาญา
-ไม่มีเจตนา ก็ไม่มีความผิด
                   ตามกฎหมายอาญา คนที่ทำความผิดและจะต้องรับโทษนั้น ผู้ที่ทำความผิดนั้นจะต้องได้ทำด้วยความตั้งใจที่จะทำความผิดนั้น ภาษาชาวบ้านก็บอกว่า "รู้ว่าเป็นความผิด แต่ก็จะทำ" ส่วนภาษาของกฎหมายนั้น ก็เรียกสั้นๆ ว่า"เจตนา" ซึ่งอาจจะเข้าใจยากไปซักนิดหนึ่ง  ดังนั้นความ "ตั้งใจ" หรือ "เจตนา" ตามกฎหมายอาญานั้นจึงมีความสำคัญมาก เป็นตัวชี้เป็นชี้ตายว่า ผู้ที่ทำความผิดนั้น จะต้องได้รับโทษตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไร 
                กระทำโดย "เจตนา"  มีความหมายตามตามภาษาของกฎหมายอย่างง่ายๆ ว่า "เป็นการกระทำที่ผู้ทำมีสติ คือรู้ว่าได้ทำอะไรอยู่ และการที่ผู้ทำได้ทำลงไป ก็เพื่อต้องการผลจากการที่ได้ทำนั้น หรือผู้ทำรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นมาเมื่อได้ทำลงไป" 
        ดังนั้นแล้ว "เจตนา" จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญเหลือหลาย ในการที่จะชี้ว่าผู้ทำมีความผิดหรือไม่  ซึ่งตามปกติแล้ว เมื่อทำผิด ผู้ทำก็จะต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้เสมอ และการกระทำที่จะเป็นความผิดได้นั้น ก็จะต้องเป็นการทำในสิ่งที่กฎหมายได้กำหนดห้ามเอาไว้ด้วย  เช่น 
        กฎหมายห้ามไม่ให้ใครเอาของๆ คนอื่นไปเป็นของตัวเอง โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และปรากฏว่า
นาย ก. ได้ฝ่าฝืนกฎหมายนั้น โดยไปหยิบเอากระเป๋าของ นาย ข. ไป เพื่อจะเอาไปเป็นของตัวเอง  อย่างนี้ นาย ก.
ก็จะมีความผิดฐานลักทรัพย์  เป็นต้น 
        แต่หากมีผู้ทำความผิดตามที่กฎหมายห้ามเอาไว้ แต่ผู้ทำไม่มีความตั้งใจที่จะทำอย่างนั้น อาจจะเป็นเพราะความเข้าใจผิด อย่างนี้ผู้ทำก็ไม่มีความตั้งใจที่จะทำผิด หรือไม่มีเจตนาตามกฎหมาย ผู้ทำก็ไม่มีความผิด ตามตัวอย่างข้างต้น หากปรากฏว่า นาย ก. เห็นกระเป๋า นาย ข. วางอยู่ข้างๆ ถังขยะ  นาย ก. ก็เข้าใจไปว่า นาย ข. ได้ทิ้งกระเป๋าใบนั้นแล้ว จึงได้หยิบเอากระเป๋าใบนั้นไปด้วย อย่างนี้ นาย ก. ก็ไม่มีความผิดลักทรัพย์ของ นาย ข. แต่อย่างใด แต่ทั้งนี้จะต้องดูข้อเท็จจริงในแต่ละเรื่องไป 
                สำหรับคนบ้า คนที่วิกลจริต ทำความผิดตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ เช่น ใช้มีดไล่แทงคนอื่น หรือถือไม้ไล่ตีคนที่เดินผ่านไปผ่านมาบนถนน จนได้รับบาดเจ็บ หรือคนบ้าจะแอบไปลักเอาเสื้อผ้าของชาวบ้านที่ตากไว้ที่ราวตากผ้าเอาไปสวมใส่เล่น การกระทำทั้งหลายที่ว่ามานี้ กฎหมายได้กำหนดว่าเป็นความผิดทั้งหมด แต่อย่างว่า คนบ้าก็คือคนบ้าวันยังค่ำ การจะถือโทษหรือลงโทษคนบ้าไปมันก็ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะว่าคนบ้าก็ไม่รู้เรื่องหรอก ส่วนความผิดก็คือความผิด หากแต่คนบ้าก็ไม้ต้องรับโทษนั้น
        หากกรณีเด็กอายุยังไม่เกินสิบปี ทำความผิดตามที่กำหนดไว้ละ เด็กจะมีความผิดหรือไม่ สาเหตุที่ถามก็เพราะว่า เด็กอายุเพียงเท่านี้ ตามปกติยังไม่รู้สึกผิดชอบ ยังไม่รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว แถมบางเรื่องยังทำอะไรด้วยตัวเองยังไม่ได้เลย ต้องให้พ่อแม่เป็นคนทำให้ แถมเด็กบางคนก็ยังดูดนมอยู่ อย่างนี้ เป็นต้น  ถ้าเกิดวันดีคืนดีไปหยิบเอาของคนอื่นมา หรือหยิบไม้ไปตีกบาลคนอื่นหัวแตกเลือดไหลขึ้นมา เด็กต้องรับผิดหรือไม่  คำตอบก็คือ มีความผิด หากแต่ว่าเด็กไม่ต้องได้รับโทษเท่านั้นเอง ที่ว่านี้เป็นเรื่องของกฎหมายอาญา ซึ่งมีโทษเกี่ยวกับคุกกับตารางเท่านั้น หากเป็นคดีแพ่งแล้ว เด็กเล็กแค่ไหน หากทำผิดและเกิดความเสียหายขึ้น เด็กและพ่อแม่จะต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่า
เสียหายที่เกิดขึ้นนั้นด้วยเสมอ   

 ที่มาhttp://www.chawbanlaw.com/bq_law/folder_bg_2/bkg_2_2.html                              





เงินนอกระบบ การกู้ยืมเงินนอกระบบ

ในช่วงเศษรฐกิจแบบนี้ ข่าวคราวที่เราและชาวบ้านทั้งหลายสนอกสนใจเป็นพิเศษ ก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของ
เงินๆ ทองๆ นี่แหละครับ และถ้าเราสังเกตุดูข่าวความเคลื่อนตามสื่อต่างๆ ในช่วงนี้แล้ว มันก็น่าจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ 
เช่น ข่าวโครงการของรัฐบาล เกี่ยวกับปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กับประชาชน  ข่าวการเพิ่มดอกเบี้ยเงินฝากของ
ธนาคาร เป็นต้น หากแต่เมื่อชาวบ้านเริ่มสนใจ แล้วไปแจ้งความประสงค์ขอรับการบริการนั้นจากผู้เกี่ยวข้อง  ก็กลับ
ไปพบว่า มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะ เพราะมันมีเงื่อนไขมากมายจนชาวบ้านชาวช่องต้องส่ายหัวกันระนาว 

       สำหรับชาวบ้านในยุคสมัยปัจจุบันนี้  "เงินทุน" เป็นปัจจัยสำคัญในการคงอยู่ของกิจการค้าขายของตัวเอง เพื่อ
ที่จะได้กำไรเล็กน้อย ที่จะต้องเจียดมาใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งรายได้ในแต่ละวัน เมื่อหักต้นทุนหักนั้นนี่ออกแล้วแทบ
ไม่เห็นกำรี้กำไร อย่างนี้กิจการในระดับชาวบ้านจะอยู่รอดได้อย่างไร  ซึ่งเมื่อชาวบ้านตาดำๆ ต้องมาเจอกับปัญหานี้
อย่างนี้เข้า สิ่งที่ทำชาวบ้านทำได้ก็คือ แลซ้ายแลขวา เพื่อหาความช่วยเหลือจากใครก็ได้ที่ใจดีพอ ที่จะหยิบยื่น
ความช่วยเหลือให้ได้ แม้ว่าจะต้องแลกทุกสิ่งก็ยอม   ด้วยเหตุนี้กิจการปล่อยเงินกู้เงินต่างๆ จึงได้เกิดขึ้นไปทั่ว และ
กิจการที่ว่านี้ก็ดำเนินการไปด้วยดีซะด้วย ถึงแม้ว่าข้อตกลงในการทำสัญญานั้นจะมหาโหดขนาดไหน หรือจะถูก
เอาเปรียบมากมายเพียงไร แต่สิ่งที่ชาวบ้านตาดำๆ ได้ตัดสินใจไปแล้ว ก็คือ การอ้อนวอนขอความเห็นใจจากเจ้า
ของเงิน โดยแลกกับสิ่งตอบแทนเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละต่อวัน และสิ่งเหล่านี้จึงเป็นที่มาของข่าวคราวเกี่ยวกับ
เงินกู้นอกระบบ อันเป็นที่มาของการเรียกดอกเบี้ยแสนโหด และวิธีการทวงหนี้มหาโหด ในวันนี้เราเลยต้องมา
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินนอกระบบ ว่ามันเป็นอย่างไร

      ในเรื่องการกู้ยืมเงิน (ไม่รวมการกู้ยืมเงินจากธนาคาร หรือสถาบันการเงิน) ได้มีกฎหมายกำหนดระเบียบ และ
หลักเกณฑ์ของการกู้ยืมเงินเอาไว้ หลายฉบับ แต่โดยหลักใหญ่ๆ แล้ว จะมุ่งความสำคัญไปยังเรื่องของดอกเบี้ยเงินกู้
เป็นสำคัญ  โดยกฎหมายได้กำหนดให้ผู้ให้กู้ยืมเงิน สามารถเรียกเอาดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี   ทั้งนี้
ก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ให้กู้ เรียกร้องเอาดอกเบี้ยมากเกินสมควร ซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้กู้ที่อยู่ในฐานะที่ลำบาก
และเสียเปรียบ ทั้งในเรื่องความจำเป็นและความสามารถในการเจรจาต่อรอง   ดังนั้นในเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ
และเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน

      แต่อย่างว่าละครับ เมื่อมีกรอบให้ต้องปฏิบัติ ก็ย่อมจะมีคนที่เข้ามาท้าทาย ซึ่งเป็นของคู่กับคนไทยมาช้า
นาน  ที่เป็นอย่างนี้ก็เป็นเพราะผลตอบแทนที่ผู้ปล่อยเงินกู้จะได้รับกลับมานั้น เป้นเงินจำนวนมาก จึงเป็นสิ่งที่ล่อใจ
ได้เสมอ  และเมื่อมีการละเมิดฝ่าฝืนกฎหมาย ก็ย่อมจะต้องมีบทลงโทษเอาไว้เป็นสิ่งตอบแทนสำหรับผู้กระทำความ
ผิดเสมอ โดยโทษที่ว่าก้คือ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  ซึ่งเป็นโทษตาม
พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475   แต่ก็อย่างว่าละครับ โทษที่มีอยู่เป็นโทษทางอาญาที่ไม่รุน
แรง จึงมีผู้คนจำนวนมากยอมเสี่ยงเพื่อแลกกับผลประโยชน์ที่มากกว่าที่รออยู่ข้างหน้า มากกว่าจะเกรงกลัวต่อ
กฎหมาย ตามที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่บ่อยๆ

      มีความผิดอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการให้กู้เงิน เป็นเรื่องเกี่ยวกับการโฆษณาเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินว่า หากมากู้เงิน
กับตนเองแล้ว จะได้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยสูง มากกว่าธนาคาร หรือสถาบันการเงินอื่นๆ  ซึ่งตามสภาพความเป็น
จริงแล้ว ผู้ให้กู้ไม่สามารถที่จะให้ดอกเบี้ย หรือผลตอบแทนอย่างนั้นได้ เป็นเพียงการนำเงินที่ได้มาหมุนจ่าย ซึ่งหลัก
สำคัญในเรื่องนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการให้ผลตอบแทนที่สูงมากว่าปกติ  ในกรณีนี้ผู้ให้กู้เงินโดยวิธีนี้ ก็จะมีความผิด
ฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน มีโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปี ถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท
และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังทำการฝ่าฝืนอยู่  ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืม
เงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 ซึ่งบทลงโทษตามกฎหมายนี้ ค่อนข้างรุนแรง ดังนั้นอย่าไปเผลอทำเข้า
เชียว

      สรุป  การกู้ยืมเงินนอกระบบ ก็คือการกู้ยืมเงินทั่วไป แต่มีเงื่อนไขและวิธีการที่ไม่ถูกต้อง เช่น เงื่อนไขในการ
เรียกเก็บดอกเบี้ยที่มักจะเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี  การเรียกเก็บหรือการทวงถามเงินที่กู้ยืม ก็ใช้วิธีบังคับขู่เข็ญ  ข่มขู่
รวมไปถึงการทำร้ายร่างกาย เป็นต้น






การกู้ยืมเงินโดยไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยกันไว้ จะคิดดอกเบี้ยกันอย่างไร


ยามบายแก่ๆ แดดร่มลมตก ใต้ร่มต้นมะขามหน้าบ้านตาน้อย ตานิดกำลังนั่งก๊งสุรากะนายใหญ่บนแคร่ไม้ไผ่เก่า
ๆ ส่วนนายน้อยที่เกริ่นไว้เริ่มแรก ก็นอนแผ่เมาหลับอยู่ข้างๆ ส่วนตานิดก็ทำตาเบลอๆ ทำท่าอยากจะนอนไปอีกคน
นายใหญ่ก็เลย เอื้อนเอ่ยหันคำถามปุจฉากับนายนิด
           นายใหญ่ : ดอกอะไรเอ่ย...งอกงามแบ่งบานโดยไม่รู้จักเหี่ยวไม่รู้จักเฉา 
           นายนิด   : อุวะ..ถามมาได้ดูถูกกันเห็นๆ ข้านี่นะจะบอกให้ เรียนจบ ป. 1 ซ้ำมา 6 ปี 
           นายนิด   : คำตอบสุดท้ายก็คือ ดอกเบี้ยนะคร๊าบ..
           นายใหญ่ : เอ็งรู้ได้อย่างไง
           นายนิด   : อ้าว..! ทำเป็นงง  ก็เงินที่เอ็งยืมข้าไปนะ ตอนนี้ดอกเบี้ยบานเต็มกระบุงแล้ว เมื่อไหร่จะใช้คืน
           นายใหญ่ : อ้อ..หรอ..ลืม อิอิ


       ถ้าเราไม่ได้ตกลงเรื่องของดอกเบี้ยกันไว้ ในวันที่ได้มีการทำสัญญาขอกู้ยืมเงินกัน เราจะสามารถคิดดอก
เบี้ยเอากับผู้กู้เงินกับเราได้ไหม แล้วเราจะสามารถเรียกได้ในอัตราร้อยละเท่าไหร่  ซึ่งในวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจ
ในเรื่องเหล่านี้กันครับ

       ถ้าคนที่มาขอกู้ยืมเงินกับเรานั้น เป็นคนที่เรารู้จัก แต่ไม่ค่อยสนิทสนมซักเท่าไหร่ อย่างนี้ไม่ค่อยจะมีปัญหาใน
เรื่องเกี่ยวกับดอกเบี้ยมากนัก เพราะอย่างไงเสียก็ต้องเรียกเอาอยู่แล้ว ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพราะคิดว่าเรื่องอะไรจะช่วย
เหลือแบบฟรีๆ เสี่ยงก็เสี่ยง เกิดให้ยืมไปแล้วถึงเวลาไม่เอาเงินมาคืนก็ซวยนะสิ อย่างนี้ก็เรียกเป็นพิธีหน่อย เอาเป็นค่า
น้ำชงน้ำชาไปละกัน ร้อยละสิบห้าขาดตัว อันนี้ก็ว่ากันไปนะครับ ทั้งนี้ฝ่ายผู้ให้กู้เงินก็คงไม่ง้ออยู่แล้ว อย่างว่าจะเอาก็
ช่างไม่เอาก็ช่างไม่เสียหายอะไร ซึ่งส่วนมากก็จะเป็นอย่างนั้นเสมอ     ที่นี้กลับกันมาดูฝ่ายผู้ขอกู้เงินกันบ้าง ก็จะทำ
อย่างไงได้ละ ก็จ๊ะจ๋าเท่าไหร่ก็ได้จร้า แบบว่าขอให้ได้เงินมาหมุนก่อนละกัน ส่วนจะคืนได้หรือเปล่าก็อีกเรื่องหนึ่ง
ค่อยเอาไว้ว่ากันทีหลัง โดยมากก็เป็นอย่างนี้แหละครับ  "เวลาจะเอาก็มือก็อ่อนยกมือไหว้ เวลาจะขอคืนมือก็ลีบติด
กับตัว ก็มันยังไม่มีจะให้ทำอย่างไงละจ๋า"  นี่ก็เรื่องหนึ่ง 

       หากเป็นกรณีของเพื่อนสนิท หรือคนที่เรารู้จักมักคุ้นกันเป็นอย่างดี รวมไปถึงบรรดาญาติๆ นะหรือ อย่างนี้ก็จะ
เป็นไปอีกแบบหนึ่งเลย อย่างนี้ไม่ต้องพูดอะไรกันมาก จะไม่ให้ก็กลัวจะโดนว่า จะบอกว่าไม่มีก็ใช่เรื่องกลัวจะโดน
กลุ่มก๊วนเพื่อนๆ เม้าเอาอีก หากให้ไปและให้ทำหนังสือสัญญา ก็อาจโดนว่าแบบประชดๆ อีก ว่า "แหม..ไม่ไว้ใจกัน
เลยนะ" แล้วเรื่องของดอกบงดอกเบี้ยก็ไม่ต้องพูดถึงกันเลย สุดท้ายแล้วก็ต้องควักตังค์ในกระเป๋าให้ แล้วต้องทำหน้า
ยิ้มๆ แล้วพูดบอกไปว่า "มีเมื่อไหร่ค่อยเอามาให้แล้วกัน" มีอย่างนี้อีกนะเด้อละ

       ต่อมาภายหลังปรากฏว่า เดชะบุญที่ทำมาแต่ครั้งปางก่อนหรืออย่างไร เพื่อนที่สนิท หรือคนที่คุ้นเคยรู้จักกันคน
นั้น ก็ได้หายไปอย่างไร้ร่องรอย โทรหาก็ไม่รับ ไปที่บ้านก็ไม่เจอ เมื่อเจอพฤติการณ์อย่างนี้เมื่อไหร่ ก็อาจทำให้
เจ้าของเงินนั้น ใจหายใจคว่ำไปได้เหมือนกัน บางคนก็อาจถึงกินไม่ได้นอนก็ไม่หลับ สาเหตุก็เพราะเงินที่ให้ยืมไปนั้น
มันมากโขเอาการอยู่  เรื่องอย่างนี้ตาสียายสาก็เข้าใจได้ไม่ยากว่า "ท่าจะโดนเบี้ยวซะแล้ว"  เมื่อเจอเหตุการณ์แบบนี้
ความเกรงใจที่เคยมีมาแต่ดั้งเดิมก็คงเหือดแห้งไป สุดท้ายแล้วก็คงเหลือแต่ความเจ็บใจ แบบว่าไม่น่าจะทำกันอย่าง
นี้เลย เพื่อนกันแท้ๆ

       เมื่อตามตัวได้แล้วเรียกเงินคืน แล้วมีการนำเงินมาคืน อย่างนี้เรื่องก็คงจบไป เพราะถึงแม้ไม่มีกำไรแต่ก็ไม่ขาดทุน แต่หากกรณีกลับกันในกรณีที่บอกกล่าวก็แล้ว ทวงถามก็แล้ว ก็ปรากฏว่าเพื่อนคนนั้นได้หายวับเข้ากลีบเมฆไป อย่างนี้ร้อยทั้งร้อยคงไม่มีหวังจะได้คืนอย่างง่ายๆ คงต้องพึ่งโรงพึ่งศาลกันละ   ซึ่งแบบนี้ทางกฎหมายเขาก็เรียกกันว่า เกิดการผิดนัดผิดสัญญากันขึ้นแล้ว และหากปรากฏอีกว่า ในขณะที่ทำสัญญากัน หรือในขณะที่ให้ยืมเงินกันนั้นไม่ได้พูดคุยหรือตกลงกันในเรื่องของดอกเบี้ยเอาไว้  อย่างนี้เมื่อมีการผิดสัญญากันขึ้นมา ผู้ให้ยืมเงินก็มีสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยเอาจากผู้ยืมเงินได้ ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินที่ได้ยืมไป โดยสามารถคิดเอากับผู้ยืมเงินได้ นับตั้งแต่วันที่ผู้ยืมเงินได้ผิดนัดผิดสัญญา จนกว่าผู้ยืมเงินจะนำเงินมาคืนหมดในการคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนี้  เป็นอัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ในกรณีผิดสัญญา และเป็นกรณีที่ไม่ได้มีการตกลงเรื่องของดอกเบี้ยเอาไว้ สามารถนำไปใช้ได้ในการทำสัญญาต่างๆ ที่ไม่ได้มีการตกลงในเรื่องของดอกเบี้ยเอาไว้ หรือมีการตกลงยินยอมเสียดอกเบี้ย แต่ก็ไม่ได้กำหนดเอาไว้ให้ชัดเจนว่า จะต้องเสียกันเท่าไหร่ หรือในขณะทำสัญญาก็ไม่ได้คิดดอกบงดอกเบี้ยอะไรกันไว้ แต่เมื่อครบกำหนดที่จะต้องนำเงินมาชำระคืนตามสัญญาแล้ว กลับไม่นำเงินมาชำระตามสัญญา อย่างนี้ตามกฎหมายก็ให้สิทธิกับคู่กรณี ใน
การเรียกเอาดอกเบี้ยเอาจาก


อ้างอิง http://www.chawbanlaw.com/bq_law/folder_bg_1/bkg_1_3.html


สาระความรู้เกี่ยวกับสัญญาต่างๆ
กฎหมายนั้น เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อผู้คนในสังคมของเรา และตลอดเวลาของกาดำรงชีวิตของเราทุก
คนในทุกๆ วันนี้ ก็มักวนเวียนเกี่ยวข้องอยู่แต่ในเรื่องของกฎหมายอยู่ตลอดเวลา แต่ว่าจะมีใครซักกี่คนที่รู้ตระหนักถึง
ความสำคัญและความมีอยู่ของมัน และในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักและทำความเข้าใจกฎหมาย ในส่วนที่เรามักจะ
ใช้อยู่เป็นประจำวัน นั้นก็คือ กฎหมายในเรื่องของ "สัญญา"

         สัญญา คือ การทำข้อตกลงระหว่างบุคคลคนสองคนขึ้นไป ว่าจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา โดยผู้ที่ทำสัญญา
ต้องการให้ตัวเองเข้าไปผูกพันในเรื่องที่ได้มีการตกลงกันเอาไว้นั้น ตัวอย่างเช่น การทำสัญญากู้ยืมเงิน ซึ่งมีคนหรือ
บุคคล 2 ฝ่าย คือ ผู้ขอกู้เงินฝ่ายหนึ่ง กับผู้ให้กู้เงิน อีกฝ่ายหนึ่ง  โดยทั้งสองฝ่ายได้ทำข้อตกลงในเรื่องสำคัญที่ว่า
ผู้ขอกู้เงินขอเอาเงินของผู้ให้กู้เงินมาใช้ก่อน แล้วหลังจากนั้นผู้กู้เงินจะนำเงินจำนวนดังกล่าวมาคืนให้กับผู้ให้กู้เงินใน
ภายหลัง พร้อมกับค่าตอบแทนเป็นเงินดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้เงิน ซึ่งผู้ให้กู้เงินก็ตกลงยินยอมที่จะให้เงินจำนวนดังกล่าว
แก่ผู้กู้เงิน และเมื่อมีการตกลงกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว  สัญญาจึงเกิดขึ้นมา

         การทำสัญญานั้นมีหลักเกณฑ์อยู่ว่า ต้องมีฝ่ายหนึ่ง "เสนอ" สิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา แล้วมีอีกฝ่ายหนึ่ง "รับ" ข้อ
เสนอที่เสนอมานั้น  เมื่อมีการเสนอและสนองรับข้อตกลงต่างๆ แล้ว สัญญาก็เกิดขึ้น มีผลให้คู่สัญญาต้องปฏิบัติตาม
ข้อตกลงที่ได้ตกลงกันไว้นั้น และข้อตกลงของสัญญาต้องเป็นเรื่องที่ไม่ผิดต่อกฎหมาย ซึ่งในที่นี้จะขอยกตัว
อย่างง่ายๆ ในเรื่องของการซื้อขาย เช่น
        ขณะที่ นาย ก. กำลังเดินผ่านไปแถวๆ ตลาดบางกะปิ เพื่อจะไปทำงานนั้น  พลัน นาย ก. ก็ได้ยินแม่ค้าสาวคน
หนึ่งกำลังร้องเสียงหวานเชิญชวนให้ นาย ก. ซื้อมะม่วง  เมื่อ นาย ก.ได้ยินก็เกิดความสนใจจึงแวะเข้าไปดู  เมื่อ
เข้าไปดูแล้ว นาย ก. ก็เกิดอยากกิน จึงได้ตกลงซื้อมะม่วงจากแม่ค้าสาวมา 1 โล  
         ตามตัวอย่างข้างต้น แม่ค้ามะม่วงได้ เสนอ ขายมะม่วงให้กับ นาย ก. ต่อมา นาย ก. ก็สนใจอยากกินมะม่วง
ขึ้นมา จึงตกลง รับ ที่จะซื้อมะม่วงจากแม่ค้าสาว เมื่อมีการเสนอที่จะขายและมีการรับที่จะซื้อ สัญญาซื้อขายจึงเกิด
ขึ้น เป็นต้น
ในการทำสัญญา ผู้ทำสัญญาสามารถทำสัญญาได้ด้วยการพูดจาตกลงกันด้วยวาจา หรือจะทำเป็นหนังสือ
สัญญา เพื่อความชัดเจนขึ้นมาก็ได้  แต่ก็มีข้อยกเว้นในบางกรณี ที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้เป็นการเฉพาะเอาไว้ว่า
การทำสัญญาจะต้องทำเป็นเป็นหนังสือ หรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หากจะทำสัญญานั้น ก็จะต้องทำตามแบบที่
กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ด้วย คือต้องทำเป็นหนังสือด้วยนะคะ

สัญญากู้ยืมเงิน



ปีนี้เป็นปีที่ใครๆ ต่างก็บ่นกันอุบ เพราะว่าเศรษฐกิจบ้านเรามันไม่ดี ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็เนื่องมาจากเศรษฐกิจของ
โลกในระบบของการค้าตลาดเสรี ที่ต่างก็ล้มกันระเนระนาดกันเป็นทิวแถว และยังไม่เท่านั้น มันยังส่งผลกระทบเป็น
ระลอกคลื่น มายังเราๆ ท่านๆ ทั้งหลาย และคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นไม่พ้นชนชาวรากหญ้าตาดำๆ
ทั้งหลาย เพราะว่าข้าวปลาอาหารต่างๆ ก็แพงขึ้นๆ ทำให้เราต้องควักกระเป๋าจ่ายมากขึ้น ในขณะที่รายรับนั้นเท่าเดิม
หรือแทบจะไม่มีเลย เมื่อเป็นแบบนี้ต่อไปใครๆ ก็คงจะพูดออกมาเป็นเสียงเดียวกันว่า แย่   เมื่อสถานะการณ์เป็นอย่าง
นี้ไม่ว่าใครๆ ต่างก็ต้องแลซ้ายแลขวาเพื่อหาทางเอาตัวรอดกันทั้งนั้น หากท่านมีโอกาสและจังหวะที่ดีพอ ท่านก็อาจ
จะเป็นอีกคนหนึ่งที่เลียบๆ เคียงๆ ไปยังคนที่อยู่ข้างๆ แล้วก็พูดออกมาเลยว่า "ขอยืมเงินหน่อยคร๊าบ"

        "การกู้ยืมเงิน" นั้น เป็นเรื่องธรรมดาในยุคนี้สมัยนี้ และสำหรับชาวบ้านชาวช่องทั่วๆ ไปต่างก็คุ้นเคยกันเป็น
อย่างดี เพราะว่าเรื่องแบบนี้มันเป็นเรื่องที่ใครๆ เขาก็ทำกันทั้งนั้นในช่วงเวลาที่ลำบากยากเข็ญ  ซึ่งในเรื่องของการ
กู้ยืมเงินตามแบบฉบับของชาวบ้านนั้น ส่วนมากก็จะเป็นการขอยืมกันด้วยปากเปล่า ไม่ได้มีการทำสัญยงสัญญาอะไร
ไว้ต่อกัน ทั้งนี้เพราะถือหลักความคุ้นเคยและความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน และเมื่อได้มีการหยิบยืมเงินกันแล้ว
เมื่อถึงเวลา ก็จะเอามาคืนให้กัน โดยที่ไม่ได้มีการคิดดอกบงดอกเบี้ยให้มันปวดสมองเล่น และการยืมแต่ละครั้งก็เป็น
จำนวนเงินที่ไม่มากนัก  
         สิ่งที่ได้กล่าวและเกิดขึ้นมานี้ ถ้าจะว่าไปแล้วก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะเป็นการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
ในยามที่ลำบาก  แต่ก็อย่างว่าละครับ คนเราเกิดมาย่อมจะมีความแตกต่าง ทั้งจริต นิสัย ถ้าเจอคนที่ดีก็ถือว่าเป็นบุญ
ไป แต่หากไปเจอคนที่เลว ชอบเอารัดเอาเปรียบ หรือคอยจ้องแต่จะคดโกงคนอื่นอย่างนี้แล้ว อย่างนี้ก็คงไม่ไหว
และหากคนแบบนี้มาขอหยิบยืมเงินเราไป ปัญหาที่ตามมาก็อาจจะหนีไม่พ้นต้องกุมขมับ เพราะว่าหายเข้าไปในกลีบ
เมฆ หรือทวงถามเมื่อไหร่ก็บอกไม่มี แล้วก็ผลัดผ่อนไปวันหลังอยู่เรื่อยๆ แบบนี้ผู้ให้ยืมก็คงหน้าดำหน้าเขียวไม่รู้จะทำ
อย่างไรดีซะงั้น

        ตามหลักของกฎหมายในเรื่องของการกู้ยืมเงิน การจะทำสัญญากู้ยืมเงินในแต่ละครั้งนั้นจะทำสัญญากันด้วย
ปากเปล่าก็ได้ หรือเพื่อความมั่นใจว่า จะไม่เกิดปัญหาขึ้นตามมาภายหลัง จะทำเป็นหนังสือสัญญาโดยเฉพาะก็ได้
เช่นกัน เพราะกฎหมายไม่ได้กำหนดเอาไว้  (แต่ถ้าจะให้ดีเพื่อความสบายใจ เราก็ควรที่จะทำเป็นหนังสือสัญญาดี
กว่า) แต่ว่า หากมีการกู้ยืมเงินกันเป็นเงินมากกว่าสองพันบาทขึ้นไป (ก็ 2,001 บาทขึ้นไป) ก็จะต้องมีหลักฐานการ
กู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง และต้องลงลายมือชื่อของผู้ยืมเป็นสำคัญ (หลักฐานการกู้ยืมนั้นจะเป็นหนังสือ
อะไรก็ได้ โดยต้องมีลายมือชื่อของผู้กู้ยืมอยู่ด้วย เช่น จดหมายโต้ตอบว่าได้มีการยืมเงินกันไป อย่างนี้ก็ใช้ได้) และ
หากว่ามีการกู้ยืมเงินกันเกินกว่าสองพันบาท แล้วไม่ได้ทำสัญญากันไว้ หรือว่าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่ง
อย่างใดเลย อย่างนี้เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาก็จะไปฟ้องร้องต่อศาล เพื่อจะเรียกร้องเอาเงินจากผู้กู้ยืมคืนมาไม่ได้  เมื่อ
เป็นอย่างนี้ ผู้ให้กู้ก็ต้องรับเคราะห์ไป ส่วนผู้กู้ก็เดินยิ้มแฉ่งได้อย่างสบายอกสบายใจ เพราะได้ตังค์ใช้ฟรี
        ดังนั้นในการกู้ยืมเงินกัน แม้ว่าเราจะรู้จักมักคุ้นกับผู้กู้เงิน และไว้เนื้อเชื่อใจกันมากขนาดไหน เราก็ควรจะทำ
สัญญา หรือทำหลักฐานการกู้ยืมกันไว้จะเป็นการดีที่สุด เพราะตามข้อเท็จจริงที่ได้เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ คดีเกี่ยวกับการ
กู้ยืมเงินโดยส่วนมาก คู่พิพาทมักจะเป็นคนที่รู้จักกัน

        ที่นี้เรามาว่ากันในส่วนของฝ่ายของผู้กู้ยืมเงิน  กฎหมายก็ได้วางหลักเกณฑ์ในส่วนของผู้กู้ยืมเงินเอาไว้เช่นกัน
กล่าวคือ เมื่อการกู้ยืมเงินได้ทำเป็นหนังสือสัญญาไว้ต่อกัน หรือไม่ได้ทำหนังสือสัญญา แต่ว่าได้ทำหนังสืออย่างใด
อย่างหนึ่ง ที่แสดงได้ว่าได้มีการกู้ยืมเงินกัน โดยฝ่ายผู้กู้เงินได้เซ็นต์ชื่อลงในหนังสือนั้นด้วย เช่น
         นาย ก. เขียนจดหมายไปหา นาย ข. บอกว่า "เงินที่ยืมไป 50,000 บาท ชาติหน้าถึงจะคืนให้" เสร็จแล้วนาย
ก. ก็ได้ลงชื่อเอาไว้
         ข้อความที่กล่าวไว้ข้างต้น เพียงเท่านี้ ก็สามารถใช้เป็นหลักฐานของการกู้ยืมเงินได้  และต่อมาเมื่อผู้กู้เงินได้
ชำระเงินตามวันเวลาที่ได้ตกลงกันไว้กับผู้ให้กู้เงินแล้ว แต่ปรากฏว่า ผู้กู้เงินกลับละเลยไม่ขอใบเสร็จ หรือหลักฐาน
การชำระเงิน หรือเมื่อชำระเงินให้กับผู้ให้กู้เงินครบถ้วนแล้ว ก็ไม่ได้ขอสัญญากู้ หรือหลักฐานการกู้คืนจากผู้ให้กู้ หรือ
ขอให้ผู้ให้กู้เงินทำลายสัญญา หรือหลักฐานการกู้ยืมเงินนั้นเสีย ทั้งนี้ก็เพราะความเชื่อใจกันแล้ว   หากปรากฏว่าวันดี
คืนดีผู้กู้เงินก็ได้รับหมายเรียกจากศาล โดยมีข้อหาว่า ผู้กู้เงินผิดสัญญาไม่ชำระเงินให้แก่ผู้ให้กู้เงินตามสัญญา  เมื่อ
เกิดเหตุอย่างนี้แล้ว ผู้กู้เงินจะต่อสู้กับผู้ให้กู้ โดยนำพยานหลักฐานไปแสดงต่อศาล เพื่อแสดงว่าได้นำเงินไปชำระ
คืนให้กับผู้ให้กู้ครบถ้วนแล้วไม่ได้  ทั้งนี้เพระว่าผู้กู้เงินไม่มีหลักฐานแสดงได้ว่า ได้นำเงินไปชำระแล้วนั่นเอง ที่นี้ผู้กู้
เงินก็ต้องก้มหน้ารับเคราะห์ หาเงินไปชำระให้กับผู้ให้กู้อีกรอบ ส่วนผู้ให้กู้เงินก็ยิ้มบ้าง เพราะได้กำไรเป็นเท่าตัว

สรุป ในส่วนของผู้กู้เงิน เมื่อได้นำเงินมาชำระคืนแก่ผู้ให้กู้ ก็ควรที่จะขอใบเสร็จ หรือหนังสืออย่างอื่นที่แสดง
ว่าได้มีการชำระเงินคืนแล้ว เป็นเงินเท่าใด  และหากชำระครบถ้วนแล้ว ก็ขอสัญญาคืน หรือขีดฆ่า หรือฉีกทำลายเสียซึ่งดีกว่าใช้ความเชื่อใจ แล้วเกิดปัญหาขึ้นมาภายหลังนะคะ