บทความกฎหมาย การขอรับใบอนุญาตคนต่างด้าว [Work Permit Application] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ที่มา : doe.go.th
|
กฎหมายน่ารู้
กฎหมายใกล้ตัว
วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ถ้าถูกจับ ตำรวจมีสิทธิ์ยึดกุญแจรถเรามั้ย?!!....
ถ้าถูกจับ ตำรวจมีสิทธิ์ยึดกุญแจรถเรามั้ย?!!....
มาดูอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานจราจรกัน ซึ่งเป็นไปตาม พรบ.จราจรทางบก มาตรา 142(1)
เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้ขับขี่หยุดรถในเมื่อ
(1) รถนั้นมีสภาพไม่ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6
(2) เห็นว่าผู้ขับขี่หรือบุคคลใดในรถนั้นได้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอันเกี่ยวกับรถนั้น ๆ(26)(2)
ในกรณีที่เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าผู้ขับขี่ฝ่าฝืนมาตรา 43 (1)หรือ (2)
ให้เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้มีการทดสอบผู้ขับขี่ดังกล่าวว่าหย่อนความสามารถ
ในอันที่จะขับหรือเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นหรือไม่
(3)ในกรณีที่ผู้ขับขี่ตามวรรคสองไม่ยอมให้ทดสอบ ให้เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจกักตัวผู้นั้นไว้ดำเนินการทดสอบได้
ภายในระยะเวลาเท่าที่จำเป็นแห่งกรณีเพื่อให้การทดสอบเสร็จสิ้นไปโดยเร็ว และเมื่อผู้นั้นยอมให้ทดสอบแล้วเหตุผลการทดสอบปรากฏว่า
ไม่ได้ฝ่าฝืนมาตรา 43 (1) หรือ (2) ก็ให้ปล่อยตัวไปทันที
(4)การทดสอบตามมาตรานี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
จะเห็นว่ากฎหมายบัญญัติไว้แค่มีอำนาจสั่งให้หยุด ไม่มีตรงไหนบอกว่าให้ยึดกุญแจเอาไว้ได้ มาตราอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องก้บัญญัติในทำนองเดียวกันว่ามีอำนาจสั่งให้หยุด
กรณีเรียกตรวจตามปกติ ตาม กฏหมายจราจร การยึดกุญแจ ตำรวจไม่มีอำนาจยึด
การยึดรถนั้น ตำรวจจะมีอำนาจยึดแต่เฉพาะยึดไว้เพื่อในการสืบสวนสอบสวนประกอบสำนวนคดี
ซึ่งร้อยเวรเจ้าของคดีมีอำนาจยึดไว้ชั่วคราวได้ แต่เมื่อเสร็จคดีแล้วต้องคืนให้แก่เจ้าของไป
หากเป้นตำรวจชั้นประทวนมายึดกุญแจนี่ ยิ่งไม่มีอำนาจใหญ่เลย ถือว่ากระทำการโดยไม่มีอำนาจ
ตำรวจมีอำนาจจับกุมผู้ทำผิดกฏหมายก็จริง แต่ก็ต้องส่งร้อยเวรดำเนินคดีต่อไป แต่การเรียกตรวจรถถือว่าทำการตาม พรบ.จราจร
หากว่าผู้ขับขี่กระทำผิดกฏจราจรข้อใด ก็ต้องออกใบสั่งให้ไปชำระค่าปรับ ที่ สน ตามที่ร้อยเวรกำหนด ตำรวจชั้นประทวน
จะใช้อำนาจบาตรใหญ่เพราะคิดว่าตัวเองเป้นตำรวจมายึดกุญแจรถนี่ไม่ได้ มีความผิดฐานกระทำการโดยปราศจากอำนาจ
ตำรวจจะยึดรถไว้ชั่วคราวก็ได้แต่เฉพาะร้อยเวรเจ้าของคดี ซึ่งรถนั้นใช้ในการกระทำความผิดโดยร้อยเวรเห้นว่ามีเหตุอันควรยึดไว้ชั่วคราวก่อน
เพื่อประกอบสำนวนคดีเท่านั้น
ที่มา : http://forum.ayutthaya.go.th/index.php?topic=671.0
มาดูอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานจราจรกัน ซึ่งเป็นไปตาม พรบ.จราจรทางบก มาตรา 142(1)
เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้ขับขี่หยุดรถในเมื่อ
(1) รถนั้นมีสภาพไม่ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6
(2) เห็นว่าผู้ขับขี่หรือบุคคลใดในรถนั้นได้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอันเกี่ยวกับรถนั้น ๆ(26)(2)
ในกรณีที่เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าผู้ขับขี่ฝ่าฝืนมาตรา 43 (1)หรือ (2)
ให้เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้มีการทดสอบผู้ขับขี่ดังกล่าวว่าหย่อนความสามารถ
ในอันที่จะขับหรือเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นหรือไม่
(3)ในกรณีที่ผู้ขับขี่ตามวรรคสองไม่ยอมให้ทดสอบ ให้เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจกักตัวผู้นั้นไว้ดำเนินการทดสอบได้
ภายในระยะเวลาเท่าที่จำเป็นแห่งกรณีเพื่อให้การทดสอบเสร็จสิ้นไปโดยเร็ว และเมื่อผู้นั้นยอมให้ทดสอบแล้วเหตุผลการทดสอบปรากฏว่า
ไม่ได้ฝ่าฝืนมาตรา 43 (1) หรือ (2) ก็ให้ปล่อยตัวไปทันที
(4)การทดสอบตามมาตรานี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
จะเห็นว่ากฎหมายบัญญัติไว้แค่มีอำนาจสั่งให้หยุด ไม่มีตรงไหนบอกว่าให้ยึดกุญแจเอาไว้ได้ มาตราอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องก้บัญญัติในทำนองเดียวกันว่ามีอำนาจสั่งให้หยุด
กรณีเรียกตรวจตามปกติ ตาม กฏหมายจราจร การยึดกุญแจ ตำรวจไม่มีอำนาจยึด
การยึดรถนั้น ตำรวจจะมีอำนาจยึดแต่เฉพาะยึดไว้เพื่อในการสืบสวนสอบสวนประกอบสำนวนคดี
ซึ่งร้อยเวรเจ้าของคดีมีอำนาจยึดไว้ชั่วคราวได้ แต่เมื่อเสร็จคดีแล้วต้องคืนให้แก่เจ้าของไป
หากเป้นตำรวจชั้นประทวนมายึดกุญแจนี่ ยิ่งไม่มีอำนาจใหญ่เลย ถือว่ากระทำการโดยไม่มีอำนาจ
ตำรวจมีอำนาจจับกุมผู้ทำผิดกฏหมายก็จริง แต่ก็ต้องส่งร้อยเวรดำเนินคดีต่อไป แต่การเรียกตรวจรถถือว่าทำการตาม พรบ.จราจร
หากว่าผู้ขับขี่กระทำผิดกฏจราจรข้อใด ก็ต้องออกใบสั่งให้ไปชำระค่าปรับ ที่ สน ตามที่ร้อยเวรกำหนด ตำรวจชั้นประทวน
จะใช้อำนาจบาตรใหญ่เพราะคิดว่าตัวเองเป้นตำรวจมายึดกุญแจรถนี่ไม่ได้ มีความผิดฐานกระทำการโดยปราศจากอำนาจ
ตำรวจจะยึดรถไว้ชั่วคราวก็ได้แต่เฉพาะร้อยเวรเจ้าของคดี ซึ่งรถนั้นใช้ในการกระทำความผิดโดยร้อยเวรเห้นว่ามีเหตุอันควรยึดไว้ชั่วคราวก่อน
เพื่อประกอบสำนวนคดีเท่านั้น
ที่มา : http://forum.ayutthaya.go.th/index.php?topic=671.0
พระประวัติ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์เป็น พระราชโอรสองค์ที่ ๑๔ ในสมเด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( พระปิยมหาราช ) รัชกาลที่ ๕ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตลับ ธิดาพระยาพระยา เวียงในนฤบาล ประสูติ วันพุธ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีจอ ฉศก จุลศักราช ๑๒๑๗ ตรงกับวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๔๑๗
การศึกษา
พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงเข้าศึกษาวิชาภาษาไทยครั้งแรกในสำนักพระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) แล้วทรงเข้าศึกษาภาษาอังกฤษชั้นต้น ในสำนักครูรามสามิ และในปี พ.ศ. ๒๔๒๖ ได้ทรงเข้าศึกษา ภาษาไทยอยู่ใน สำนักพระยาโอวาทวรกิจ (แก่น เปรียญ ) ณ พระตำหนักสวนกุหลาบ พระองค์ได้เข้าพิธีพระราชโสกันต์ในวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๔๒๗ และทรงผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาปวเรศวิริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌายะ หลังจากเสร็จพระราชพิธีสมโภชแล้วจึงทรงเสด็จ มาประทับที่ วัดบวรนิเวศวิหาร ในวันศุกร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๒๘ จึงลาสิกขาเสด็จกลับเข้าประทับในพระบรมหมาราชวัง รวมเวลาที่พระองค์ได้ ้ทรงผนวช ทั้งสิ้น ๒๒ วัน
ต่อมาในช่วงปลายปี พ.ศ. ๒๔๓๑ ได้เสด็จไปประเทศอังกฤษ และทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมอยู่นกรุงลอนดอนเป็น เวลา ๓ ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ได้ทรงเลือกศึกษาวิชา กฎหมายต่อที่วิทยาลัยไครส์ตเชิช มหาวิทยาลัยออกฟอร์ด เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓ เมื่อได้ทรงเข้าศึกษาในวิทยาลัย ไครส์ตเชิช แล้วได้ทรงอุตสาหะเอาพระทัยใส่เป็นอย่างมาก ในที่สุดได้ทรงสอบ ไล่ผ่านทุกวิชาตามหลักสูตร ได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยม ในทางกฎหมายของมหาวิทยาลัย ภายในเวลา ๓ ปี ช่วงขณะนั้นทรงมี พระชนมายุเพียง 20 พรรษา
เนื่องจากช่วงเวลานั้น ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะการรุกรานของฝรั่งเศส ในพุทธ ศักราช ๒๔๓๖ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ได้เสด็จกลับประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงฝึกหัดราชการในกรมราชเลขานุการ และได้ทรงศึกษากฎหมาย ไทยทั้งหมดที่หม่อมลัดเลย์ได้พิมพ์ไว้ พระองค์ทรงแตกฉานในกฎหมายไทยและสามารถปฏิบัติราชการได้อย่างคลองแคล้ว
พระราชกรณียกิจ
- เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ขึ้นดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ในขณะที่ทรงมี พระชนมายุได้ ๒๒ พรรษา ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเป็นลำดับที่ ๓ และทรงวางระเบียบศาลยุติธรรมโดยออกเป็นกฎเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ( พิจารณาความแพ่ง , พิจารณาอาญา ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ ) พระองค์ทรงจัดให้มีการสอนวิชากฎหมายขึ้นเป็นการแพร่หลาย ให้โอกาสบุคคลที่สนใจทั่วไป เข้าศึกษาได้ ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้นมา
- เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ เป็นการเปิดการสอนกฎหมายครั้งแรก
- ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๔๒ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สถาปนาพระอิสริยศักดิ์เป็นกรมหมื่น โดยมีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์
- เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๓ ได้ทรงดำริจัดตั้งกรมพิมพ์ลายมือขึ้นที่กรงลหุโทษ และได้ทรงสอนวิธีตรวจเส้นลายมือและวิธีเก็บพิมพ์ลายมือ สำหรับตรวจพิมพ์ลายมือผู้ต้องหาในคดีอาญา
- ครั้นเมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๓ กรมหลวงราชบุรีฯ ทรงทำหนังสือกราบบังคมทูลว่าประชวร โดยมีอาการปวดพระเศียร คิดและทำอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น หมอไรเตอร์ตรวจพระอาการแล้วว่าต้องหยุดการทำงาน พักรักษาพระองค์
- ในปีพุทธศักราช ๒๔๕๕ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสร็จในกรม ฯ กลับรับราชการเป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตรธิการตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๕๕ และทรงดำรงตำแหน่งเพียงปีเดียวก็ได้รับพระบรมราชโองการเลื่อนขึ้นเป็นพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ลงวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๕๕
จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๖๒ เสด็จในกรมฯ ทรงประชวร ด้วยพระวัณโรคที่พระวักกะ จึงทรงกราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งเสนาบดี
คติพจน์ประจำพระองค์
คนเราควรจะให้
แต่ไม่ควรจะขออะไรจากผู้อื่น
ควรกินพอประมาณ
ไม่ควรจะมากเกินไปถึงกับท้องกาง
ควรช่วยเหลือคนอื่น
ไม่ใช้เหยียบย่ำ
ควรจะรับใช้
ไม่ควรคิดเป็นนายคน
วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
กฎหมายประกันสังคม
กฎหมายประกันสังคม
กฎหมายประกันสังคม เป็นกฎหมายที่กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนประกันสังคมขึ้นโดยให้ลูกจ้างหรือ ผู้สมัครเข้าประกันตน นายจ้างและรัฐบาลร่วมออกเงินสมทบเพื่อใช้กองทุนดังกล่าวเป็นหลักประกันให้ แก่ลูกจ้างและผู้สมัครเข้าประกันตนได้รับการสงเคราะห์เมื่อ ประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน คลอดบุตร ชราภาพ และว่างงาน รวมทั้งการสงเคราะห์บุตร ซึ่งจะทำให้ชีวิตของลูกจ้างและสังคมมีความมั่นคงขึ้น
ชื่อ
กฎหมายประกันสังคมที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๓๓ เป็นต้นมา
ขอบเขต
ปัจจุบันกฎหมายประกันสังคมใช้บังคับแก่กิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ ๑๐ คนขึ้นไปผู้ที่ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายดังนี้ คือ
ปัจจุบันกฎหมายประกันสังคมใช้บังคับแก่กิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ ๑๐ คนขึ้นไปผู้ที่ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายดังนี้ คือ
ก. ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวรายวัน และลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมงของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น ยกเว้นลูกจ้างชั่วคราวราเดือน
ข. ลูกจ้างของรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ
ค. ลูกจ้างของนายจ้างที่มีสำนักงานในประเทศและไปประจำทำงานอยู่ในต่างประเทศ
ง. ครูหรือครูใหญ่ของโรงเรียนเอกชน
จ. นักเรียน นักเรียนพยาบาล นิสิตหรือนักศึกษา หรือแพทย์ฝึกหัด ซึ่งเป็นลูกจ้างของโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือโรงพยาบาล
ฉ. ลูกจ้างของสภากาชาดไทย
ช. ลูกจ้างของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
ซ. ลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
ณ. ลูกจ้างของกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ และเลี้ยงสัตว์ซึ่งมิได้ใช้ลูกจ้างตลอดปี และไม่มีงานลักษณะอื่นรวมอยู่ด้วย
ญ. ลูกจ้างของนายจ้างที่จ้างไว้เพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจรหรือเป็นไปตามฤดูกาล (พ.ร.ก. มาตรา ๓)
ฎ. ลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย (มาตรา ๕)
ผู้ประกันตน
ลูกจ้างที่มีอายุ ๑๕ ปีบริบูรณ์ถึง ๖๐ ปีบริบูรณ์ในกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ ๑๐ คนขึ้นไป จะตกเป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายนี้ทันทีที่เข้าทำงานเป็นลูกจ้าง ทั้งนี้จนกว่าจะพ้นจากการเป็นลูกจ้างของนายจ้างดังกล่าว (มาตรา ๓๓)
ข. ลูกจ้างของรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ
ค. ลูกจ้างของนายจ้างที่มีสำนักงานในประเทศและไปประจำทำงานอยู่ในต่างประเทศ
ง. ครูหรือครูใหญ่ของโรงเรียนเอกชน
จ. นักเรียน นักเรียนพยาบาล นิสิตหรือนักศึกษา หรือแพทย์ฝึกหัด ซึ่งเป็นลูกจ้างของโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือโรงพยาบาล
ฉ. ลูกจ้างของสภากาชาดไทย
ช. ลูกจ้างของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
ซ. ลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
ณ. ลูกจ้างของกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ และเลี้ยงสัตว์ซึ่งมิได้ใช้ลูกจ้างตลอดปี และไม่มีงานลักษณะอื่นรวมอยู่ด้วย
ญ. ลูกจ้างของนายจ้างที่จ้างไว้เพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจรหรือเป็นไปตามฤดูกาล (พ.ร.ก. มาตรา ๓)
ฎ. ลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย (มาตรา ๕)
ผู้ประกันตน
ลูกจ้างที่มีอายุ ๑๕ ปีบริบูรณ์ถึง ๖๐ ปีบริบูรณ์ในกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ ๑๐ คนขึ้นไป จะตกเป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายนี้ทันทีที่เข้าทำงานเป็นลูกจ้าง ทั้งนี้จนกว่าจะพ้นจากการเป็นลูกจ้างของนายจ้างดังกล่าว (มาตรา ๓๓)
ผู้สมัครเข้าประกันตน บุคคล มิใช่ลูกจ้างที่อยู่ในข่ายบังคับของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น (คนขับรถรับจ้าง แม่ค้า ข้าราชการ ทนายความ ฯลฯ) อาจสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนได้ โดยสมัครและจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามอัตราที่กำหนดเป็นรายปี (ปี ๒๕๓๗ - ๒๕๓๘ เป็นเงิน ๒,๘๘๐ บาท ปี ๒๕๓๙ - ๒๕๔๐ เป็นเงิน ๓,๑๑๐ บาท ปี ๒๕๔๑ เป็นต้นไป เป็นเงิน ๓,๓๖๐ บาท)และ เมื่อได้จ่ายเงินครบระยะเวลาที่กำหนดแล้ว ผู้สมัครเข้าประกันตนดังกล่าวจะได้รับประโยชน์ทดแทนเพียง ๓ ประเภท คือ ประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร ในกรณีทุพพลภาพ และในกรณีตายเท่านั้น (มาตรา ๔๐ และพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของผู้ประกันตน ซึ่งมิใช่ลูกจ้าง พ.ศ. ๒๕๓๗)
กฏหมายที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน
กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน หมายถึง กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการใช้แรงงานและการจ่ายค่าตอบแทนในการทำงาน ทั้งนี้ เพื่อให้ลูกจ้างทำงานด้านความปลอดภัย มีสุขภาพอนามัยดี ได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการตามสมควร
กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ เป็นกฎหมายที่กำหนดแนวทางปฏิบัติต่อกันระหว่างบุคคลสองฝ่าย คือ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง เพื่อให้บุคคลทั้งสองฝ่ายได้มีความเข้าใจอันดีต่อกัน สามารถตกลงในเรื่องสิทธิหน้าที่ และผลประโยชน์ในการทำงานร่วมกันได้รวมทั้งกำหนดวิธีการระงับข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้น
ให้ยุติลงโดยรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสงบสุข ในสถานประกอบกิจการ ซึ่งจะส่งผลถึงเศรษฐกิจและความมั่นคง
ของประเทศ
กฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายดังกล่าวคือ พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
พ.ศ. 2534 เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและแรงงานสัมพันธ์ในภาครัฐวิสาหกิจ
เป็นการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ซึ่งไม่น้อยกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
กฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน เป็นการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำให้สถานประกอบกิจการถือปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ดีปราศจากอุบัติเหตุ และโรคเนื่องจากการทำงาน
"ประกาศหรือคำสั่งของกระทรวงแรงงาน และประกาศหรือคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงานที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 ให้ยังคงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ทั้งนี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบและประกาศ ที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ"
"พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มีสาระสำคัญดังนี้"
วันเวลาทำงาน
1. วันทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 6 วัน
2 . กำหนดเวลาทำงานปกติในทุกประเภทไม่เกิน 8 ชั่วโมง / วัน หรือไม่เกิน 48 ชั่วโมง / สัปดาห์
ถ้าเป็นการทำงานอันตรายต่อสุขภาพตามกฏกระทรวง กำหนดให้ทำงานไม่เกิน 7 ชั่วโมง / วัน หรือไม่เกิน 42 ชั่วโมง/สัปดาห์
3 . กำหนดเวลาพักระหว่างวันทำงาน ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง อาจตกลงพักน้อยกว่าครั้งละ 1 ชั่วโมงก็ได้ แต่รวมกันไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง / วัน
4 . กำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน ห่างกันไม่เกิน 6 วัน และวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน รวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย สำหรับวันหยุดผักผ่อนประจำปี ไม่น้อยกว่า 6 วันทำการ เมื่อลูกจ้างทำงานครบ 1 ปี
ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา
1. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดภูเก็ตคือ 181 บาท/วัน
2. ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด
• ทำเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ได้รับค่าล่วงเวลา 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้าง/ชั่วโมง
• ทำงานในวันหยุดในเวลาปกติ / สำหรับวันหยุดที่ได้ค่าจ้างจะได้รับเพิ่มอีก 1 เท่า ในวันหยุดที่ไม่ได้รับค่าจ้างจะได้รับเพิ่มเป็น 2 เท่าของค่าจ้างในวันทำงาน
• ทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ได้รับค่าล่วงเวลาในวันหยุดไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
3. ลูกจ้างทั้งชายและหญิง มีสิทธิได้รับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เท่าเทียมกันในงานที่มีลักษณะและคุณภาพอย่างเดียวกันและปริมาณเท่ากัน
การลาป่วยและการล่าคลอด
1. ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง แต่ได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วันทำงาน
2. ลาคลอดได้ไม่เกิน 90 วัน โดยได้รับค่าจ้าง 45 วัน
3. ลาเพื่อรับราชการทหาร ได้ไม่เกินปีละ 60 วัน โดยได้รับค่าจ้าง
4. ลาเพื่อทำหมันได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่แพทย์วินิจฉัยให้หยุด
5. ลากิจธุระ อันจำเป็น แล้วแต่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน
6. ลาเพื่อเข้ารับการอบรม
วันหยุด
1. วันหยุดประจำสัปดาห์ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน สำหรับลูกจ้างรายวันไม่ได้รับค่าจ้าง
2. วันหยุดตามประเพณี อย่างน้อยปีละ 13 วัน (รวมวันแรงงานแห่งชาติแล้ว) โดยได้รับค่าจ้าง
3. วันหยุดพักผ่อนประจำปี ปีละ 6 วันทำงาน โดยได้รับค่าจ้าง ซึ่งนายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าว
ค่าชดเชย
1. ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างเลิกจ้าง โดยลูกจ้างไม่มีความผิดดังนี้
1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วันแต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปีแต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
2. กรณีย้ายสถานประกอบการ นายจ้างต้องแจ้งให้แก่ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่เกิน 30 วัน หากลูกจ้างไม่ต้องการไปทำงานด้วย ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญา โดยได้รับค่าชดเชยพิเศษ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ
3. ค่าชดเชยพิเศษ ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุปรับปรุงหน่วยงานกระบวนการผลิต
การจำหน่ายหรือการบริการ อันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี
หากนายจ้าง ไม่แจ้งล่วงหน้าหรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลา 60 วันนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษดังนี้
1) ลูกจ้างจะได้รับค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 60 วัน
2) ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชยตามกฏหมาย
3) ลูกจ้างที่มีอายุงาน 6 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษปีละ 15 วัน เมื่อรวมค่าชดเชยทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 360 วัน
นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
หนังสือเตือนให้มีผลบังคับใช้ได้ไม่เกินหนึ่งปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีสาเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่เป็นนักโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
การว่าจ้างแรงงานเด็ก
1. ห้ามใช้แรงงานเด็ก อายุต่ำกว่า 15 ปีทำงานโดยเด็ดขาด
2. ห้ามใช้แรงงานเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ในกิจการบางประเภท และทำงานระหว่างเวลา 22.00 น. - 06.00 น. ทำงานวันหยุดและทำงานล่วงเวลา
3. ห้ามใช้แรงงานเด็กในสถานที่ เต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง และตามที่กำหนดในกฏหมาย
4. ให้ลูกจ้างเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี มีสิทธิลาเพื่อรับการอบรม สัมมนา ที่จัดโดยสถานศึกษา หรือหน่วยงานของรัฐ โดยได้รับค่าจ้างแต่ไม่เกิน 30 วันต่อปี
5. การว่าจ้างแรงงานเด็กต่ำกว่า 18 ปี ต้องแจ้งพนักงานตรวจแรงงานภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่เด็กเข้าทำงาน
การว่าจ้างแรงงานหญิง
1. การใช้แรงงานหญิง ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงทำงานต่อไปนี้
• งานเหมืองแร่หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือปล่องในภูเขาเว้นแต่ลักษณะของงาน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือ ร่างกายของลูกจ้างหญิงนั้น
• งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป
• งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ
• งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
2. ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์ทำงานในระหว่างเวลา 22.00น.-06.00น. ทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุดหรือทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด
3. ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหญิงเพราะเหตุมีครรภ์
4. ให้แรงงานหญิงมีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตร ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน
5. ห้ามนายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงานหรือผู้ตรวจงาน ล่วงเกินทางเพศต่อแรงงานหญิง หรือเด็ก
ความปลอดภัยในการทำงาน
1. ให้นายจ้างหรือสถานประกอบการที่มีลูกจ้างน้อยกว่า 50 คน ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการทำงาน ระดับพื้นฐาน ระดับหัวหน้างาน และระดับบริหาร เพื่อดูแลความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบการร่วมกับนายจ้าง
2. การกำหนดให้นายจ้างหรือสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คน ขึ้นไป ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระดับบริหาร และระดับวิชาชีพ
3. กำหนดให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานประกอบด้วย นายจ้าง ผู้แทนระดบับังคับบัญชา ผู้แทนลูกจ้างระดับปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน โดยมีคณะกรรมการ ตามขนาดของสถานประกอบการ
4. การให้ความคุ้มครองอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับสภาพงานและได้มาตรฐานโดยให้นายจ้างเป็นผู้จัดให้ อาทิ ตามที่กำหนดในกฏกระทรวง ให้นายจ้างต้องจัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยสาวนบุคคลให้ลูกจ้างตามลักษณะของงาน และลูกจ้างต้องสวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าวตลอดเวลาการทำงานโดยบังคับ
หมวดหมู่ : กฏหมาย
ข้อมูลจาก : http://www.phuketlabour.org/law.htm
กฎหมายที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน
กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องบุคคล ทรัพย์สิน นิติกรรม สัญญา ละเมิด ครอบครัว และมรดก ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย
กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความผิดและโทษ โดยกำหนดผู้กระทำผิดจะได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
กฎหมายอาญาจึงมีความสำคัญช่วยให้ประชาชนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและปลอดภัย
กฎหมายเกี่ยวกับบุคคล
บุคคล หมายถึง สิ่งที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิหน้าที่ได้ตามกฎหมาย
สภาพบุคคลเริ่มต้นตั้งแต่แรกคลอดเป็นทารกและสิ้นสุดสภาพบุคคลเมื่อตายหรือสาบสูญตาม คำสั่งของศาล
การสาบสูญ คือ การหายจากภูมิลำเนาในภาวะปกติเกิน 7 ปี หรือหายจากภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น เรืออับปาง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 3 ปี ถือว่าเป็นคนสาบสูญได้ ในกรณีที่ผู้สาบสูญกลับมา สามารถขอร้องต่อศาลให้ถอนคำสั่งสาบสูญได้
บุคคลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. บุคคลธรรมดา หมายถึง บุคคลที่มีความสามารถ สามารถทำนิติกรรมได้ตามที่กฎหมายกำหนด
ส่วนประกอบของสภาพบุคคล
1. ชื่อตัว - ชื่อสกุล
2. สัญชาติ ได้มาโดยการเกิด การสมรส การแปลงชาติ
3. ภูมิลำเนา คือถิ่นที่อยู่ประจำและแน่นอนของบุคคล
4. สถานะ คือ ฐานะของบุคคลตามกฎหมายซึ่งทำให้เกิดสิทธิ เช่น โสด สมรส หย่า
2. นิติบุคคล หมายถึง หมู่คนหรือสิ่งที่กฎหมายรับรองสภาพอย่างบุคคลธรรมดา และมีสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบในนามของกิจการ
เช่น กระทรวง ทบวง กรม บริษัท สมาคม มูลนิธิ และวัด เป็นต้น
ทรัพย์และทรัพย์สิน
ทรัพย์ หมายถึง วัตถุ หรือสิ่งที่มีรูปร่าง
ทรัพย์สิน หมายถึง ทรัพย์และวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง เช่น ลิขสิทธิ์ (ทรัพย์สินทางปัญญา)
ประเภทของทรัพย์สิน
1. อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้
2. สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้
นิติกรรม
นิติกรรม คือการแสดงเจตนาผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับสิทธิ์
หลักการทำนิติกรรม
1. มีการแสดงเจตนาของบุคคล โดยการพูด เขียน หรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
2. การกระทำนั้นต้องทำด้วยความสมัครใจ
3. มีเจตนาที่จะให้เกิดผลตามกฎหมาย
นิติกรรมที่เป็นโมฆะและโมฆียะ
1. นิติกรรมที่เป็น โมฆะ คือ นิติกรรมที่ไม่ได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตั้งแต่แรก ซึ่งไม่เกิดผลทางกฎหมาย
2. นิติกรรมที่เป็น โมฆียะ คือ นิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์จนกว่าจะถูกบอกล้าง เช่น
นิติกรรมที่ผู้เยาว์กระทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม เมื่อมีการบอกล้างแล้ว โมฆียะกรรมจะกลายเป็นโมฆะ
สัญญาต่าง ๆ
ประเภทของสัญญา
สัญญาซื้อขายธรรมดา แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. คำมั่นว่าจะซื้อหรือจะขาย คือ มีการให้คำมั่นเสนอว่าจะซื้อหรือจะขาย
2. สัญญาจะซื้อจะขาย คือ สัญญาตกลงกันในสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขาย
3. สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด คือ เป็นสัญญาที่ตกลงกันตามสาระสำคัญของสัญญากันเรียบร้อยแล้ว
สัญญาซื้อขายเฉพาะอย่าง แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
1. สัญญาซื้อขายเงินสด คือ สัญญาที่ผู้ซื้อตกลงชำระราคาสินค้าเป็นเงินสดทันที เมื่อมีการซื้อขายกัน
2. สัญญาซื้อขายผ่อนส่ง คือ สัญญาการซื้อขายที่มีการส่งมอบทรัพย์สินให้กับผู้ซื้อแล้ว แต่ผู้ซื้อยังไม่ได้ชำระราคา อาจตกลงผ่อนชำระเป็นงวด ๆ
3. สัญญาขายฝาก คือ สัญญาซื้อขายที่ผู้ขายฝากต้องการเงินจำนวนหนึ่งจากผู้ซื้อ จึงนำทรัพย์สินมาโอนให้กับผู้ซื้อฝาก และผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินกับคืนได้ภายในเวลาที่ตกลงกันไว้ หากครบกำหนดไถ่คืนแล้ว ผู้ขายฝากไม่มาไถ่คืน ทรัพย์สินนั้นจะตกเป็นของผู้ซื้อฝากโดยเด็ดขาด
4. การขายทอดตลาด คือ การซื้อขายที่ประกาศให้ประชาชนมาประมูลซื้อสู้ราคากันโดยเปิดเผย ประกอบด้วยบุคคล 4 ฝ่าย คือ
- ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สิน หรือผู้มีอำนาจขายทรัพย์สินได้
- ผู้ทอดตลาด
- ผู้สู้ราคา
- ผู้ซื้อ
สัญญาเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ แบ่งออกเป็น
1. สัญญาเช่าทรัพย์
- ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นตัวหนังสือ
- ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ
2. สัญญาเช่าซื้อ คือสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์นั้นให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินหรือจะให้ทรัพย์นั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ โดยมีเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว การทำสัญญาเช่าซื้อต้องทำหนังสือลงลายมือชื่อในสัญญาทั้งสองฝ่าย
สัญญากู้ยืมเงิน
เป็นสัญญาที่ผู้กู้และผู้ให้กู้ได้ตกลงกันในการยืมเงินและจะคืนเงินให้ตามเวลาที่กำหนดไว้โดยมีการเสียดอกเบี้ย
การกู้ยืมเงินตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานลงลายมือชื่อผู้กู้ไว้เป็นสำคัญ
กฎหมายเกี่ยวกับครอบครัว
การหมั้น คือ การทำสัญญาระหว่างชายหญิงว่าจะสมรสกัน จะทำได้เมื่อชายและหญิงอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ถ้าชายและหญิงเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
การสมรส การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์หากมีอายุต่ำกว่านี้ต้องศาลอนุญาต
ทรัพย์สินของสามีและภรรยา แบ่งเป็น
1. สินส่วนตัว คือ ทรัพย์สินที่สามีหรือภรรยามีก่อนสมรส
2. สินสมรส คือ ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างการสมรส
การสิ้นสุดการสมรส
1. ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ
2. คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่กรรม
3. การหย่า
- สิทธิและหน้าที่ของบิดาและมารดา บิดามารดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตร
- สิทธิและหน้าที่ของบุตร บุตรมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเป็นการตอบแทน
กฎหมายเรื่องมรดก
มรดก คือ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่าง ๆ ของผู้ตายหรือเจ้าของมรดก ซึ่งเมื่อเจ้าของมรดกถึงแก่ความตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีที่ตาย
ทายาท คือ ผู้มีสิทธิได้รับมรดก 2 ประเภท
1. ทายาทโดยธรรม คู่สมรสและญาติสนิท
2. ทายาทตามพินัยกรรม ผู้มีสิทธิ์ได้รับมรดกตามพินัยกรรมระบุไว้
พินัยกรรม คือ เอกสารที่เจ้าของมรดกแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์
กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นการกำหนดสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ของบุคคล
-สิทธิ หมายถึง ประโยชน์ซึ่งกฎหมายรับรอง คุ้มครองให้กับบุคคล เช่น สิทธิทางการเมือง สิทธิในทรัพย์สิน
-เสรีภาพ หมายถึง การกระทำของบุคคลที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย เช่น เสรีภาพในร่างกาย เสรีภาพในการพูด การพิมพ์ การเขียน การนับถือศาสนา
-หน้าที่ คือ สิ่งที่บุคคลจะต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำ ในฐานะสมาชิกของรัฐ เช่น การเสียภาษีอากร การป้องกันประเทศ
2. กฎหมายเลือกตั้ง เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมการจัดและดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและยุติธรรม
3. กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์
- เมื่อมีคนเกิดต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน
- เมื่อมีคนตายต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 24 ชม.
- เมื่อย้ายที่อยู่อาศัยต้องแจ้งภายใน 15 วัน
4. กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประชาชน
- บุคคลที่มีสัญชาติไทยอายุ ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปแต่ไม่เกิน 70 ปี ต้องขอมีบัตรประชาชน
- การเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล ต้องขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วั น
- บัตรสูญหายต้องขอเปลี่ยนใหม่ ภายใน 60 วัน
บุคคลที่ไม่ต้องมีบัตรประชาชน ได้แก่ พระภิกษุ ข้าราชการ นักโทษ และบุคคลที่มีอายุเกิน 70ปี ขึ้นไป
5. กฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร
- ชายไทยที่มีสัญชาติไทย อายุย่างเข้า 18 ปีบริบูรณ์ ให้ไปแสดงตัวเพื่อลงบัญชีพลทหารกองเกินภายในเขตภูมิลำเนาของตน
- เมื่ออายุย่างเข้า 21 ปี ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกและต้องทำการตรวจเลือกเพื่อเข้าเป็นทหารกองประจำการตามกำหนดนัด
*บุคคลที่ไม่ต้องเป็นทหารประจำการ ได้แก่ พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ คนพิการทุพพลภาพ บุคคลที่ขาดความสามารถบางประการที่ไม่อาจเป็นทหารได้
6. กฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของชุมชน และสิ่งแวดล้อม
- พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เช่น การสร้าง ดัดแปลง ต่อเติม รื้อถอน ต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
- พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2518
- พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2522
วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555
บทความกฎหมายน่ารู้ : ข้อสัญญาที่ (ไม่) เป็นธรรม?
เมื่อยุคสมัยแปรเปลี่ยนไป
การใช้ชีวิตของคนในสังคมก็แปรเปลี่ยนตาม
ค่านิยมของวิถีการใช้ชีวิตของคนในต่างประเทศก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ถือเป็น ปัจจัยสำคัญที่ทำให้พฤติกรรมของคนในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
ซึ่งอาจสังเกตได้จากสมัยก่อนที่มีการอยู่อาศัยรวมตัวกันเป็นครอบครัวใหญ่ใน
อาคารบ้านเรือน แต่เมื่อยุคสมัยแปรเปลี่ยนไป
ผู้คนก็พากันเปลี่ยนพฤติกรรมการอยู่อาศัยแบบเดิม ๆ
มาเป็นการอยู่อาศัยในพื้นที่จำกัด เช่น หอพัก แฟลต อพาร์ตเม้นต์ หรือคอนโดมิเนียม
เป็นต้น ซึ่งแม้ว่า พื้นที่ที่ใช้อยู่อาศัยจะมีพื้นที่จำกัดขึ้น แต่ก็มีความเป็นส่วนตัว
และยังสามารถเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางได้สะดวกรวดเร็วขึ้น
เนื่องจากมีให้เลือกสรรมากมายหลายแห่ง โดยเฉพาะบริเวณใจกลางเมือง ซึ่งถือเป็นจุดศูนย์กลางของการทำธุรกิจหลากหลายประเภท
ซึ่งนับว่า การปรับเปลี่ยนนี้เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถบรรเทาปัญหาเรื่องการจราจรที่ถือว่าเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกสำหรับคนเมืองได้เป็นอย่างดี
และด้วยเหตุนี้เอง
การประกอบธุรกิจขายห้องชุด จึงดูจะทวีความสำคัญขึ้นมาเป็นลำดับ
ซึ่งในปัจจุบันก็มีโครงการห้องชุดผุดขึ้นมานับไม่ถ้วน
เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่พอจะมีกำลังทรัพย์ และแสวงหาความสะดวกสบาย
และเนื่องจากห้องชุดในแต่ละโครงการมีราคาไม่ได้ต่ำไปกว่าราคาคฤหาสน์หรูใน
โครงการบ้านจัดสรรใหญ่ ๆ ดังนั้น จึงได้รับความนิยม
และมีการตอบรับเป็นอย่างดีจากคนไทยตลอดจนชาวต่างชาติกระเป๋าหนักที่กำลังมอง
หาที่อยู่อาศัย หรือสถานที่ประกอบธุรกิจ หรือแม้กระทั่งซื้อหามาเพื่อเก็งกำไร
และสิ่งที่จะขาดไม่ได้เลยสำหรับการซื้อขายห้องชุดกัน ก็คือ
เอกสารหลักฐานการซื้อขายห้องชุด ซึ่งประกอบด้วย “หนังสือ/สัญญาจองซื้อห้องชุด” และ“สัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด” ซึ่งโดยปกติทั่วไปเจ้าของโครงการก็มักจะจัดไว้เป็นรูปแบบมาตรฐานสำหรับลูกค้าทุกรายเรียบร้อยแล้ว
หนังสือ/สัญญาจองซื้อห้องชุด
“หนังสือ/สัญญาจองซื้อห้องชุด”
หรือที่มักเรียกกันง่าย ๆ จนติดปากกันว่า “ใบจอง”
หรือ “หนังสือจอง” เป็นเอกสารหลักฐานระหว่างเจ้าของโครงการ
(ผู้รับจอง) และผู้บริโภค (ผู้จองซื้อ) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการซื้อขายห้องชุดกัน
โดยมักจะมีการระบุห้องชุดที่ผู้จองซื้อต้องการ
พร้อมกับกำหนดข้อตกลงให้ผู้จองซื้อชำระเงินจอง (เงินมัดจำ) ไว้จำนวนหนึ่ง
ซึ่งเงินมัดจำนี้อาจจะไม่ได้มีเรียก หรือระบุว่า เป็นเงินมัดจำ
แต่หากคู่สัญญาประสงค์จะให้เป็นมัดจำ ก็ย่อมเป็นมัดจำตามกฎหมาย[1] นอกจากนั้นก็จะเป็นข้อตกลงอื่น
ๆ ซึ่งที่พบเห็นกันแทบจะทุกหนังสือ/สัญญาจองซื้อห้องชุดก็คือ
กำหนดระยะเวลาให้ผู้จองซื้อเข้ามาทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดกับผู้รับจองต่อไป
อย่างไรก็ตาม
มัดจำไม่ได้ถือเป็นเงินที่ตกลงกันไว้เพื่อเป็นการชำระหนี้ล่วงหน้า
แต่เป็นเพียงหลักฐานที่แสดงว่า หนังสือ/สัญญาจองซื้อห้องชุดนั้นได้ทำกันไว้แล้วจริง
อีกทั้งยังเป็นหลักประกันว่า ผู้จองซื้อซึ่งเป็นผู้วางเงินมัดจำจะปฏิบัติการชำระหนี้ต่อผู้รับจองตามข้อ
ตกลงในหนังสือ/สัญญาจองซื้อห้องชุดนั้นด้วย[2] ซึ่งมัดจำนี้อาจจะเป็นเงินก้อนโต
หรือก้อนเล็ก หรือแม้แต่เป็นสิ่งอื่นใดที่ไม่ใช่เงินก็ไม่ผิดอะไร
เพียงแต่จะต้องเป็นสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องมีการส่งมอบกัน[3] ซึ่งก็สุดแล้วแต่ละตกลงกันไว้
แต่ โดยทั่ว ๆ ไป ผู้รับจองก็มักจะเลือกเอาเงินก้อนโตจากผู้จองซื้อไว้ก่อน
เผื่อไว้กินเปล่าในกรณีที่ผู้จองซื้อผิดนัดไม่เข้ามาทำสัญญาจะซื้อจะขาย
ห้องชุดกับผู้รับจองตามวันเวลาที่ตกลงกันไว้ในหนังสือ/สัญญาจองซื้อห้องชุดนั่นเอง
ผิดสัญญาจอง : ริบมัดจำ???
เมื่อผู้รับจองได้กำหนดหลักเกณฑ์
และเงื่อนไขให้ผู้จองซื้อปฏิบัติการชำระหนี้แล้ว ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไป
ก็คงจะไม่พ้นข้อตกลงสำคัญเรื่องกำหนดวันเวลาให้ผู้จองซื้อเข้ามาทำสัญญาจะ
ซื้อจะขายห้องชุด หากเมื่อถึงกำหนด ผู้จองซื้อกลับเพิกเฉยเบี้ยวนัด
โดยไม่ใช่ความผิดของผู้รับจอง
และยอมทิ้งเงินมัดจำก้อนโตที่ได้ชำระให้กับผู้รับจองไปเสียดื้อ ๆ ก็จะถือว่า
ผู้จองซื้อผิดนัดผิดสัญญาตามที่ตกลงกันไว้ในเอกสารจองดังกล่าว
ซึ่งหากมิได้มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ก็จะทำให้ผู้รับจองมีสิทธิบอกเลิกสัญญา
และริบเงินนั้นได้[4] แต่ถ้ามัดจำนั้นสูงเกินไป
ศาลอาจจะสั่งให้ริบได้เพียงเท่าที่เสียหายจริงก็ได้[5]
แต่ถ้าผู้จองซื้อยังมุ่งมั่นรักษาสิทธิของตนเอง
โดยเข้ามาทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดกับผู้รับจองตามวันเวลาที่กำหนดไว้ใน หนังสือ/สัญญาจองซื้อห้องชุดแต่โดยดี
ผู้รับจองก็จะเปลี่ยนฐานะจากการเป็นเพียงผู้รับจองมาเป็นผู้จะขาย
และผู้จองซื้อก็จะกลายเป็นผู้จะซื้อ ซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องผูกพันกันตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด[6]ต่อไป
เหตุใดจึงต้องเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย
เหตุที่ไม่เรียกสัญญาที่เป็นการซื้อขายห้องชุดนี้ว่า
“สัญญาซื้อขายห้องชุด” แต่กลับเรียกว่า “สัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด” ก็เพราะว่า
โดยทั่วไปสัญญาจะซื้อจะขายมักจะใช้กับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน
หรือทรัพย์ที่อยู่ติดกับที่ดินอย่างถาวร หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน (เช่น
กรวด หิน ดิน ทราย ฯลฯ) และหมายความรวมไปถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดิน หรือทรัพย์นั้นด้วย
(เช่น กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง ฯลฯ)[7] ซึ่งตามกฎหมายคู่สัญญาไม่สามารถทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้เอง
แต่จะต้องไปทำที่สำนักงานที่ดินต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดิน
ซึ่งก็หมายถึงการทำหลักฐานกันไว้เป็นหนังสือ และนำไปจดทะเบียนต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดินนั่นเอง
จึงจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายกันโดยสมบูรณ์[8] ส่วนสัญญาซื้อขายนั้นจะใช้กับสังหาริมทรัพย์
(ทรัพย์สินที่เคลื่อนที่ได้) เช่น รถยนต์ ฯลฯ รวมทั้งสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย
(เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิในเครื่องหมายการค้า ฯลฯ)[9] ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายจะโอนทันทีที่มีการตกลงซื้อขายกันเรียบร้อยแล้ว
เว้นแต่จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น[10] ดังนั้น
เมื่อห้องชุดถือเป็นอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่ง
เราจึงเรียกสัญญาที่เป็นการซื้อขายห้องชุดกันนี้ว่า “สัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด”
แทนที่จะเรียกว่า “สัญญาซื้อขายห้องชุด”
หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในสัญญาฯ
โดยทั่วไป
ผู้จะซื้อแทบจะไม่ต้องเหนื่อยยากกับการจัดร่างสัญญาฯ เลย
เนื่องจากผู้จะขายเรียกได้ว่าแทบจะทุกโครงการก็มักจะจัดแบบร่างสัญญาฯ
มาตรฐานเอาไว้ให้กับลูกค้าของโครงการอยู่แล้ว ซึ่งผู้จะซื้อจะทำได้อย่างมากก็เพียงเจรจาต่อรองขอแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียด
ในส่วนที่ผู้จะขายพอจะยอมรับได้ เช่น งวดการผ่อนจ่ายค่าห้องชุด
วัสดุอุปกรณ์ตกแต่งห้องชุด เป็นต้น
แต่หากนำสัญญาฯ มาวิเคราะห์กันดี
ๆ แล้ว ก็จะพบว่า หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในสัญญาฯ ของบรรดาเจ้าของโครงการธุรกิจห้องชุดจำนวนไม่น้อยยังขาด
ตกบกพร่อง หรือขัดกับประกาศของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค[11] โดยผู้จะขายบางรายก็ตั้งใจจะฝ่าฝืน
เนื่องจากเล็งเห็นถึงผลประโยชน์ของตนเป็นหลัก อีกทั้งอำนาจการต่อรองก็มีมากกว่า
บางรายก็อาจทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ด้วยเหตุนี้
เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคโดยส่วนรวม เมื่อโครงการใกล้จะเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น
หรือเจ้าของโครงการได้ดำเนินการจดทะเบียนอาคารชุดเรียบร้อยแล้ว สคบ. ก็มักจะสุ่มเรียกให้เจ้าของโครงการส่งสัญญาฯ
เข้าไปให้ตรวจ เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศของสคบ.[12] อีกทั้งยังเป็นการป้องกันไม่ให้เจ้าของโครงการเอาเปรียบผู้จะซื้อซึ่งเป็น
ผู้บริโภคเกินสมควร ด้วยการใช้ข้อความในสัญญาฯที่ไม่เป็นธรรม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)