วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กฎหมายประกันสังคม


กฎหมายประกันสังคม

ความหมาย
     กฎหมายประกันสังคม เป็นกฎหมายที่กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนประกันสังคมขึ้นโดยให้ลูกจ้างหรือ ผู้สมัครเข้าประกันตน นายจ้างและรัฐบาลร่วมออกเงินสมทบเพื่อใช้กองทุนดังกล่าวเป็นหลักประกันให้ แก่ลูกจ้างและผู้สมัครเข้าประกันตนได้รับการสงเคราะห์เมื่อ ประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน คลอดบุตร ชราภาพ และว่างงาน รวมทั้งการสงเคราะห์บุตร ซึ่งจะทำให้ชีวิตของลูกจ้างและสังคมมีความมั่นคงขึ้น
ชื่อ
      กฎหมายประกันสังคมที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๓๓ เป็นต้นมา



ขอบเขต
       ปัจจุบันกฎหมายประกันสังคมใช้บังคับแก่กิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ ๑๐ คนขึ้นไปผู้ที่ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายดังนี้ คือ
ก. ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวรายวัน และลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมงของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น ยกเว้นลูกจ้างชั่วคราวราเดือน
ข. ลูกจ้างของรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ
ค. ลูกจ้างของนายจ้างที่มีสำนักงานในประเทศและไปประจำทำงานอยู่ในต่างประเทศ
ง. ครูหรือครูใหญ่ของโรงเรียนเอกชน
จ. นักเรียน นักเรียนพยาบาล นิสิตหรือนักศึกษา หรือแพทย์ฝึกหัด ซึ่งเป็นลูกจ้างของโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือโรงพยาบาล
ฉ. ลูกจ้างของสภากาชาดไทย
ช. ลูกจ้างของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
ซ. ลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
ณ. ลูกจ้างของกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ และเลี้ยงสัตว์ซึ่งมิได้ใช้ลูกจ้างตลอดปี และไม่มีงานลักษณะอื่นรวมอยู่ด้วย
ญ. ลูกจ้างของนายจ้างที่จ้างไว้เพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจรหรือเป็นไปตามฤดูกาล (พ.ร.ก. มาตรา ๓)
ฎ. ลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย (มาตรา ๕)
ผู้ประกันตน
      ลูกจ้างที่มีอายุ ๑๕ ปีบริบูรณ์ถึง ๖๐ ปีบริบูรณ์ในกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ ๑๐ คนขึ้นไป จะตกเป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายนี้ทันทีที่เข้าทำงานเป็นลูกจ้าง ทั้งนี้จนกว่าจะพ้นจากการเป็นลูกจ้างของนายจ้างดังกล่าว (มาตรา ๓๓)
      ผู้สมัครเข้าประกันตน บุคคล มิใช่ลูกจ้างที่อยู่ในข่ายบังคับของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น (คนขับรถรับจ้าง แม่ค้า ข้าราชการ ทนายความ ฯลฯ) อาจสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนได้ โดยสมัครและจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามอัตราที่กำหนดเป็นรายปี (ปี ๒๕๓๗ - ๒๕๓๘ เป็นเงิน ๒,๘๘๐ บาท ปี ๒๕๓๙ - ๒๕๔๐ เป็นเงิน ๓,๑๑๐ บาท ปี ๒๕๔๑ เป็นต้นไป เป็นเงิน ๓,๓๖๐ บาท)และ เมื่อได้จ่ายเงินครบระยะเวลาที่กำหนดแล้ว ผู้สมัครเข้าประกันตนดังกล่าวจะได้รับประโยชน์ทดแทนเพียง ๓ ประเภท คือ ประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร ในกรณีทุพพลภาพ และในกรณีตายเท่านั้น (มาตรา ๔๐ และพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของผู้ประกันตน ซึ่งมิใช่ลูกจ้าง พ.ศ. ๒๕๓๗)






ที่มา  http://gigjung.exteen.com/20110723/entry

1 ความคิดเห็น: