ปัจจุบัน ไม่ใช่ว่าผู้ชายไปมีกิ๊กหรือมีชู้ แล้วผู้หญิงที่เป็นเมียหลวงจะเรียกร้องสิทธิได้อย่างเดียว เพราะถ้าผู้หญิงมีชู้หรือไปมีความสัมพันธ์กับชายอื่น สามีที่จดทะเบียนสมรสก็มีสิทธิเรียกร้องจากภรรยาได้เช่นเดียวกัน (แต่ถ้าคุณไม่จดทะเบียนสมรสก็หมดสิทธินะจ๊ะ) ซึ่งสิทธิในการเรียกร้องจากศาลมีอยู่ 2 แบบ คือ
1. ค่าทดแทน เราสามารถเรียกร้องฝ่ายชู้และคนของเราเองได้ ในกรณีที่คนนั้นๆ ต้องแสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามีหรือภรรยาของคนอื่นเขาก็ถูกเรียกร้องสิทธินี้ได้ หรือมีหลักฐานมัดตัวแน่นหนา เช่น รูปถ่าย มีพยานบุคคลไปเห็นว่าเขาอยู่กินร่วมกัน มีสถานการณ์ที่จะสันนิษฐานว่ามีความสัมพันธ์มากกว่าเพื่อนในเชิงชู้สาวทางเพศหรือเปล่า ถ้ามีก็ฟ้องได้
ขณะเดียวกันคนที่เป็นภรรยาหลวงหรือสามี ก็ต้องไม่ได้แสดงพฤติกรรมในลักษณะให้อภัยหรือรู้เห็นเป็นใจ ถ้าคุณให้อภัยเมื่อไหร่ ค่าทดแทนที่คุณจะเรียกร้องได้นี่หมดสิทธิไปเลย และการเรียกร้องค่าทดแทน จะพิจารณาเกียรติยศและชื่อเสียของฝ่ายที่เสียหาย เช่น เมียหลวง เป็นคนมีชื่อเสียงในสังคมมาก การเรียกร้องค่าทดแทนก็สูงตามไปด้วย รวมทั้งพิจารณาจากสินสมรสที่อีกฝ่ายได้ไปแล้วด้วย
แต่ถ้าคุณมีหลักฐานไม่ใช่ชัดเจนเพียงพอ แล้วไปฟ้องร้องเขา หากศาลยกฟ้องว่าไม่มีหลักฐานชัดพอว่าเขาเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามีเรา เราก็อาจถูกเขาฟ้องกลับได้ในฐานะหมิ่นประมาท เนื่องจากทำให้เขาเสื่อมเสียชื่อเสียงได้เช่นเดียวกัน
2. ค่าเลี้ยงชีพ นอกจากเรื่องการแบ่งสินสมรสกันแล้ว ถ้าเกิดหย่าไปแล้วทำให้อีกฝ่ายยากจนลง เขาสามารถมาเรียกค่าเลี้ยงชีพได้ โดยศาลจะพิจารณาจากฐานะ สมมุติว่าผู้หญิงรวยมาก หย่าไปก็ไม่ได้ลำบากอะไร ตรงนี้ค่าเลี้ยงชีพก็อาจได้น้อยหรือไม่ได้เลย เพราะดูที่ความสามารถและฐานะของคู่สมรสด้วย
ทะเบียนสมรสกับสิทธิของลูก
1. ถ้าพ่อแม่ไม่จดทะเบียนสมรส ลูกที่เกิดจะไม่ใช่ลูกโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่ได้สิทธิอะไรจากพ่อเลย เพราะถือเป็น 'บุตรนอกสมรส’หรือ ‘บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมาย’ (แต่ลูกจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของแม่เสมอ เนื่องจากฝ่ายหญิงเป็นคนอุ้มท้องและเป็นผู้ให้กำเนิด ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 ว่า เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายหญิง)
แต่ถ้าอยากจะให้ลูกเป็น "บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย" ซึ่งเด็กจะได้รับสิทธิ 2 ประการ คือสิทธิในการที่พ่อต้องอุปการะเลี้ยงดูลูก และสิทธิเป็นทายาทคือได้มรดกเมื่อพ่อตาย ทำได้ 3 วิธี คือ 1.พ่อแม่จดทะเบียนสมรสกันภายหลัง 2.พ่อทำการจดทะเบียนรับเด็กเป็นลูก หรือ 3.ศาลมีคำสั่งพิพากษาว่าเด็กเป็นลูก
แต่ถ้าทำไม่ได้สักทางเลย ก็ยังมีทางที่เด็กคนนี้จะได้รับสิทธิอยู่ แต่วิธีนี้จะได้สิทธิแค่เพียงประการเดียวคือ พฤติการณ์ต้องเข้าลักษณะว่าพ่อรับรองลูกโดยพฤตินัยแล้ว เช่น การที่ฝ่ายชายให้เด็กใช้นามสกุล ส่งเสียเลี้ยงดู ให้เรียนหนังสือหรือบอกกับชาวบ้านว่าเด็กเป็นลูกของตัว แต่เด็กจะเข้าสู่ฐานะเป็น 'ผู้สืบสันดาน' คือได้รับมรดกเมื่อพ่อตายเท่านั้น แต่ไม่ได้สิทธิเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดู
2. ถ้าพ่อแม่จดทะเบียนสมรส ลูกจะได้รับการคุ้มครอง ลูกที่เกิดมาโดยชอบด้วยกฎหมายของพ่อแม่ จะมีสิทธิมากมายในฐานะบุตร เช่น พ่อแม่มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูส่งเสียให้ลูกได้เล่าเรียนมีการศึกษา หรือถ้าใครมาทำให้สามีหรือภรรยาถึงแก่ความตาย เช่น คนอื่นขับรถโดยประมาทมาชน เป็นเหตุให้สามีหรือภรรยาถึงแก่ความตาย คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่รวมทั้งลูก ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการขาดไร้อุปการะได้ เพราะหน้าที่ในการอุปการะนี้เป็นหน้าที่ที่คู่สมรสหรือพ่อ-แม่-ลูกที่ต้องปฏิบัติต่อกัน แต่คนนอกมาเป็นต้นเหตุให้การอุปการะนั้นหายไป
ทะเบียนสมรสกับชีวิตคู่
ทะเบียนสมรสไม่ใช่แค่แผ่นกระดาษที่มีไว้ประกาศความเป็นเจ้าของ หรือมีไว้เพื่อประคองกอดให้สะใจเล่นๆ หรือเพื่อให้กฎหมายรองรับสถานะเท่านั้น แต่ทะเบียนสมรสมีค่ามากกว่านั้น...เพราะทะเบียนสมรสเป็นหลักฐานทางกฎหมายที่ทำให้สามีภรรยาได้ทั้งสิทธิและหน้าที่ต่อกันในเรื่องทรัพย์สินเงินทอง การจัดการงานบ้านงานเรือน การอบรมเลี้ยงดูลูก และสิทธิที่จะอ้างความเป็นสามีหรือภรรยาไปยันกับคนนอก เช่น การเรียกค่าเสียหายฐานละเมิด หากว่ามีใครมาทำสามีหรือภรรยาเราตาย โดยเราสามารถอ้างได้ว่าทำให้เราขาดไร้ผู้อุปการะ หรือสิทธิรับมรดกหากเราอายุยืนกว่าคู่สมรสเรา และการป้องกันคนนอกมายุ่งเกี่ยวกับคู่ชีวิตของเรา
มีสติและหนักแน่น
"ในฐานะคนเป็นหลวงไม่ว่าจะเป็นสามีหรือภรรยา ก็ขอให้มีสติ บางอย่างเราก็ต้องหนักแน่น บางทีฟังเสียงนกเสียงกามากไป มันทำให้เราลังเลและจินตนาการมากไปว่าคนของเรามีชู้จริงๆ ก็เกิดอารมณ์ไม่ดีขึ้นมา ถ้าเช็คข้อมูลไม่ดี ไปฟ้องร้องแล้วเราก็มีสิทธิที่จะบาดเจ็บได้เหมือนกัน หรือถ้าคุยกันได้ในครอบครัวก็อย่าเพิ่งหย่ากันเลย จนกว่าเราจะอยู่ด้วยกันไม่ได้จริงๆ เพราะทะเบียนสมรสมันให้สิทธิคุ้มครองคนทั้งคู่เยอะมาก"
ข้อมูลจาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น