วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555
กฎหมายครอบครัว
การหย่า
การหย่ามีอยู่ ๒ กรณีคือ
๑. การหย่าโดยความยินยอมของทั้ง ๒ ฝ่าย
(๑) ต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่อรับรองอย่างน้อย ๒ คน ตามมาตรา ๑๕๑๔ วรรคสอง
(๒) ต้องได้มีการจดทะเบียนหย่าตามมาตรา ๑๕๑๕ จึงจะสมบูรณ์
ข้อสังเกต
ก. สามีภริยาทำหนังสือหย่ากันโดยถูกต้อง แต่คู่หย่าอีกฝ่ายไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่า คู่สัญญาสามารถฟ้องคดีต่อศาลให้บังคับให้หย่าจากกันตามหนังสือหย่าโดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุหย่าตามมาตรา ๑๕๑๖ ถ้าศาลบังคับให้หย่าแล้วยังดื้อไม่ไปจด ก็ถือคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาได้ อายุความในการฟ้องคดีมีอายุความ ๑๐ ปี
ข. การหย่ากันหากทำเป็นเพียงหนังสือก็บังคับได้เฉพาะคู่สมีภริยาเท่านั้น แต่จะไปอ้างเหตุให้เสื่อมสิทธิบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้มีการจดทะเบียนหย่าแล้ว
๒. การหย่าโดยคำพิพากษาของศาลการฟ้องหย่าต้องอาศัยเหตุการหย่าตามมาตรา ๑๕๑๖ มีเหตุ ๑๒ ประการ ดังนี้
๒.๑ สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันสามีหรือภริยา เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ
ข้อสังเกต
(๑) กรณีนี้หมายความเฉพาะชายกับหญิงเท่านั้น ถ้าชายกับชาย หรือหญิงกับหญิง ไม่เข้ากรณีนี้
(๒) ฝ่ายที่มีชู้จะต้องรู้ว่าหญิงหรือชายนั้นมีคู่สมรสแล้ว หากไม่รู้ก็ไม่เรียกว่าเป็นชู้ แต่ถ้าเป็นการข่มขืนกระทำเชาเราแม้จะรู้ก็ไม่ถือว่าเป็นชู้ แต่เป็นการล่วงเกินในทำนองชู้สาวและประพฤติชั่ว
(๓) การเป็นชู้แม้กระทำเพียงครั้งเดียวก็ถือเป็นเหตุฟ้องหย่าแล้วซึ่งต่างจากการร่วมประเวณีกับหญิงอื่นที่จะต้องกระทำเป็นอาจิณถึงเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
(๔) การร่วมประเวณีกับหญิงอื่นเป็นอาจิณจะต้องเป็นการร่วมเพศตามธรรมชาติ ถ้าทางทวารหนักก็ไม่ใช่ และการที่ชายไปเที่ยวหญิงบริการเป็นประจำก็ถือได้ว่าเป็นการร่วมประเวณีกับหญิงอื่นเป็นอาจิณแล้ว
(๕) แนวคำวินิจฉัยของศาลฎีกาเกี่ยวกับภาระการพิสูจน์ในคดีชู้ แม้จะไม่มีพยานรู้เห็นในเวลาที่ชายหญิงร่วมประเวณีกันแต่ถ้ามีพยานพฤติเหตุแวดล้อม เชื่อได้ว่าชายและหญิงรักใคร่ชอบพอกันในทางชู้สาว ไปอยู่ด้วยกันสองต่อสองในที่ลับซึ่งมีโอกาสจะร่วมประเวณีกันได้ ก็สามารถฟังได้ว่าามีชู้ได้
(๖) ศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามข้อ ๑ นี้ สามีหรือภริยามีสิทธิได้รับค่าทดแทนทั้งจากภริยาหรือสามี และจากชายชู้หรือหญิงมีสามีที่ร่วมทำชู้ หรือจากชายอื่นหรือหญิงอื่นที่เป็นเหตุแห่งการหย่านั้นด้วยตามมาตรา ๑๕๒๓
๒.๒ สามีหรือภริยาประพฤติชั่วไม่ว่าจะมีความผิดอาญาหรือไม่ ซึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(๑) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(๒) ได้รับการดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่ยังคงเป็นสามีหรือภริยาที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป
(๓) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีหรือภริยามาคำนึงประกอบ
ตัวอย่างพฤติการณ์ที่เป็นการประพฤติชั่ว๑. สามีใช้กำลังบังคับข่มขืนใจให้ลูกจ้างยินยอมร่วมประเวณี
๒. สามีชอบเล่นการพนันภริยาห้ามไม่เชื่อ นำทรัพย์สินในบ้านไปจำนำเพื่อเล่นการพนัน เคยถูกต้องคำพิพากษาลงโทษเพราะเล่นการพนัน ถูกผู้บังคับบัยชาเรียกไปตักเตือนและยังไม่เลิกเล่น บางครั้งทำให้เงินไม่พอใช้จ่ายในครอบครัว เหตุเหล่านี้มารวมประกอบกันเป็นพฤติการณ์ประพฤติชั่วได้
๓. สามีดื่มสุราเป้นอาจิณและทำร้ายร่างกายภริยาบ่อยครั้งเมื่อมึนเมาสุรา
๔. เป็นข้าราชการแต่ไปเที่ยวหญิงบริการโดยถ่ายภาพไว้
๕. สามีหรือภริยาแยกกันอยู่โดยภริยาเช่าอพาร์ทเม้นท์อยู่ด้วยกันกับชายอื่นและไปไหนด้วยกัน
ตังอย่างพฤติการณ์ที่ไม่เป็นการประพฤติชั่ว๑. ภริยาไม่ยอมพูดกับสามีเนื่องจากจับได้ว่าสามีไปมีความสัมพันธ์ทางเพศกับหญิงอื่น
๒. ภริยาทราบว่าสามีมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหญิงอื่น จึงหันมาดื่มเหล้า สูบบุหรี่ หารเรื่องทะเลาะวิวาท และติดตามควบคุมสามีในที่ทำงาน
๓. ภริยาร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อให้สามีจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
๔. ภริยาไปเที่ยวกับชายอื่นในเวลากลางคืนโดยไม่ได้ความชัดว่าได้ประพฤติเช่นนั้นเป้นปกติวิสัย และไม่ชัดว่ามีความสัมพันธ์เกินกว่าปกติธรรมดาและไปลำพังเพียงลำพังสองต่อสอง
๕. สามีมีพฤติการณ์ก้าวร้าว ไม่ทำมาหาเลี้ยงครอบครัว และดื่มสุราอันเนื่องมาจากความเครียดเพราะประสบอุบัติเหตุจากการทำงานเป็นเหตุให้ตาบอด
๒.๓ สามีหรือภริยาทำร้ายหรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง อันเป็นการร้ายแรง
๒.๔ สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน ๑ ปี
๒.๕ สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกและได้ถูกจำคุกเกิน ๑ ปี ในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร
๒.๖ เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา ๑๕๑๖ (๔/๒) แบ่งออกได้เป็น ๒ กรณี คือ
(๑) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน ๓ ปี
ข้อสังเกต ต้องเกิดจากความสมัครใจของทั้งสองฝ่ายมิใช่สมัครใจฝ่ายเดียว
(๒) แยกกันอยู่ตามคำสั่งศาลเกิน ๓ ปี
๒.๗ สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร
๒.๘ สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกิน ๑ ปี ในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือนร้อนเกินควร
๒.๙ สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
๒.๑๐ สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
๒.๑๑ สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้
๒.๑๒ สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล
เหตุหย่าที่กล่าวมาแล้วข้างต้น มีข้อยกเว้นว่าถ้าเป็นเหตุ ๔ ประการนี้จะอ้างเหตุหย่าไม่ได้ คือ(๑) สามีหรือภริยารู้เห็นหรือยินยอมให้ภริยาหรือสามีอุปการะหญิงหรือชายอื่น เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่น หรือรู้เห็นหรือยินยอมหรือร่วมในการที่สามีหรือภริยาประพฤติชั่วนั้น
(๒) สามีหรือภริยาไม่สามารถร่วมประเวณีได้ตลอดกาลเพราะการกระทำของอีกฝ่าย
(๓) การทำผิดทัณฑ์บนเป็นเหตุเล็กน้อยหรือไม่สำคัญเกี่ยวแก่การอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุข
(๔) ฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้กระทำอันแสดงให้เห็นว่าได้ให้อภัยแล้ว
อายุความฟ้องหย่า
๑. กรณีเหตุหย่าบางเหตุซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว อันได้แก่ อุปการะหญิงหรือชายอื่น เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่น หรือรู้เห็นหรือยินยอมหรือร่วมในการที่สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว หรือทรมานจิตใจหรือหมิ่นประมาทหรือไม่ได้ให้ความช่วยเหลืออุปการระเลี้ยงดูกันหรือกระทำเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป้นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง กำหนดอายุความ ๑ ปี นับแต่วันที่คู่สมรสฝ่ายที่มีสิทิฟ้องหย่าได้รู้หรือควรรู้ความจริงซึ่งตนอาจยกขึ้นกล่าวอ้าง
๒. กรณีเหตุหย่าที่มีลักษณะเป็นการต่อเนื่องกันไปหรือเป็นการถาวร เช่น ถูกศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ หรือเป้นดรคติดต่อร้ายแรง เป็นต้น ไม่มีอายุความ ตราบใดที่มีเหตุนั้นก็ฟ้องหย่าได้
๓. กรณีผิดทัณฑ์บนไม่มีลักษณะเป็นการต่อเนื่อง กฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความไว้ แต่ให้ใช้อายุความ ๑๐ ปี ตามมาตรา ๑๙๓/๓๐
การขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาคดีฟ้องหย่า ได้ในเรื่อง(๑) สินสมรส
(๒) ที่พักอาศัย
(๓) การอุปการะเลี้ยงดูสามีภริยา
(๔) การพิทักษ์อุปการะเลี้ยงดูบุตร
นอกจากเรื่องทั้ง ๔ เรื่องข้างต้นแล้ว อาจขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเพื่อคุ้มครอง
ประโยชน์ของตนได้อีกตามที่ศาลเห็นสมควร
ผลของการหย่า
๑. การใช้อำนาจปกครองบุตรหลังการหย่า (มาตรา ๑๕๒๐) แบ่งออกเป็น ๒ กรณี
๑.๑ กรณีการหย่าโดยความยินยอมของคู่สมรสทั้งสองฝ่าย เป็นไปตามข้อตกลงว่าใครจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรโดยข้อตกลงดังกล่าวต้องทำเป็นหนังสือ จะตกลงกันด้วยวาจาไม่ได้
๑.๒ การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ศาลเป็นผู้ชี้ขาดว่าสามีหรือภริยาฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร โดยต้องคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรนั้นเป้นสำคัญ
ข้อสังเกต
(๑) แม้ไม่มีคำขอศาลก็ยกปัญหาเรื่องนี้ขึ้นมาวินิจฉัยได้เองตามคำพิพากษาฎีกาที่ ๖๔๗๑/๒๕๔๘
คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๔๗๑/๒๕๔๘ จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์จำเลยไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน ๓ ปี โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๑๖ (๔/๒) และเมื่อจำเลยมีบุตรผู้เยาว์ด้วยกัน ๑ คน ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ได้ตามมาตรา ๑๕๒๐ วรรคสอง และมาตรา ๑๕๒๒ วรรคสอง ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
(๒) ภายหลังผู้ที่ศาลสั่งให้มีอำนาจปกครองบุตรประพฤติตัวไม่สมควรหรือมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ศาลมีอำนาจสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองนั้นได้
(๓) มารดาหรือบิดาอีกฝ่ายหนึ่งแม้จะไม่มีอำนาจปกครองบุตรแต่ก็มีสิทธิติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์ตามมาตรา ๑๕๘๔/๑
๒. การอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่า
- การที่สามีและภริยาคู่หย่าทำความตกลงกันไว้ในสัญญาหย่าว่าฝ่ายใดจะออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นเงินเท่าใดแล้ว หากต่อมาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ชำระตามที่ตกลงกันไว้ อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องเรียกให้จ่ายเงินดังกล่าวที่ค้างชำระตามสัญญา และที่จะต้องชำระต่อไปในอนาคตตามที่กำหนดไว้ในสัญญาได้
- กรณีที่ไม่ได้ตกลงกันไว้ว่าฝ่ายใดมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใด หากคู่หย่าคนใดได้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ไปจำนวนเท่าใด ก็มีสิทธิเรียกให้ภริยาหรือสีอีกฝ่ายชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ตนได้ออกไปก่อนนับแตวันหย่าจนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะได้ เพื่อแบ่งส่วนความรับผิดในฐานะที่เป็นลูกหนี้ร่วมและเข้าใช้หนี้นั้น
- อายุความฟ้องร้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์มีอายุความ ๕ ปี นับแต่วันที่บิดามารดาหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู ในกรณีที่บิดามารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูไปฝ่ายเดียวก็มีสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากอีกฝ่ายนับแต่วันที่ตนได้ชำระไป ซึ่งถือว่าเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา ๑๙๓/๓๓ (๔) ประกอบมาตรา ๑๙๓/๑๒
๓. การเรียกค่าทดแทน
ในการที่ศาลพิพากษาให้สามีภริยาหย่าขาดจากกันเพราะเหตที่มีการล่วงเกินในทางประเวณีนั้น สามีหรือภริยาผู้เป็นโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนซึ่งอาจจะแบ่งออกได้เป็น ๒ กรณี คือ
๓.๑ ภริยาประพฤตินอกใจสามีโดยอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องชายอื่นฉันสามี มีชู้หรือร่วมประเวณีกับชายอื่นเป็นอาจิณหรือมีการล่วงเกินกับชายอื่นในทำนองชู้สาว
๓.๒ สามีประพฤตินอกใจภริยาโดยอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา เป็นชู้ หรือร่วมประเวณีกับหญิงอื่นเป็นอาจิณ หรือสามีไปมีความสัมพันธ์กับหญิงอื่นในทำนองชู้สาว
ข้อสังเกต ผู้เรียกค่าทดแทนจะต้องไม่รู้เห็นเป็นใจด้วย หากรู้เห้นเป็นใจด้วยก็จะเรียกค่าทดแทนไม่ได้ ตามมาตรา ๑๕๒๓ วรรคท้าย
๔. การเรียกค่าเลี้ยงชีพ
๔.๑ การหย่านั้นเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายเดียวและการหย่านี้จะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง หากประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ๓ ประการ นี้ ก็เรียกค่าเลี้ยงชีพได้
(๑) เหตุแห่งการหย่านั้นเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายที่ถูกเรียกร้องแต่ฝ่ายเดียว
(๒) การหย่านั้นจะทำให้คู่สมรสฝ่ายที่เรียกค่าเลี้ยงชีพต้องยากจนลง เพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากแรงงานที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส
(๓) คู่สมรสฝ่ายที่จะเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพจะต้องฟ้องหรือฟ้องแย้งเรียกค่าเลี้ยงชีพในคดีฟ้องหย่านั้น
๔.๒ กรณีการหย่าขาดจากกันเพราะเหตุวิกลจริตหรือโรคติดต่ออย่างร้ายแรง
๔.๓ กรณีคู่หย่าตกลงชำระค่าเลี้ยงชีพกันเอง
ข้อสังเกต สัญญานี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเลี้ยงชีพตามมาตรา ๑๕๒๖ ไม่ใช่สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างเป็นสามีภริยากันตามมาตริ๑๔๖๙ สามีหรือภริยาจึงไม่มีสิทธิอ้างมาตรา ๑๔๖๙ มาเป็นเหตุบอกล้างสัญญานี้ได้
๔.๔ การเลิกชำระค่าเลี้ยงชีพ
๔.๕ สิทธิที่จะได้รับค่าเลี้ยงชีพจะสละหรือโอนไม่ได้และไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี
อ้างอิงจากhttp://www.siamjurist.com/forums/1587.html
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น