เงินนอกระบบ การกู้ยืมเงินนอกระบบ
ในช่วงเศษรฐกิจแบบนี้
ข่าวคราวที่เราและชาวบ้านทั้งหลายสนอกสนใจเป็นพิเศษ ก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของ
เงินๆ ทองๆ นี่แหละครับ
และถ้าเราสังเกตุดูข่าวความเคลื่อนตามสื่อต่างๆ ในช่วงนี้แล้ว
มันก็น่าจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ
เช่น ข่าวโครงการของรัฐบาล
เกี่ยวกับปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กับประชาชน
ข่าวการเพิ่มดอกเบี้ยเงินฝากของ
ธนาคาร เป็นต้น
หากแต่เมื่อชาวบ้านเริ่มสนใจ
แล้วไปแจ้งความประสงค์ขอรับการบริการนั้นจากผู้เกี่ยวข้อง ก็กลับ
ไปพบว่า มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะ
เพราะมันมีเงื่อนไขมากมายจนชาวบ้านชาวช่องต้องส่ายหัวกันระนาว
สำหรับชาวบ้านในยุคสมัยปัจจุบันนี้ "เงินทุน" เป็นปัจจัยสำคัญในการคงอยู่ของกิจการค้าขายของตัวเอง
เพื่อ
ที่จะได้กำไรเล็กน้อย
ที่จะต้องเจียดมาใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งรายได้ในแต่ละวัน
เมื่อหักต้นทุนหักนั้นนี่ออกแล้วแทบ
ไม่เห็นกำรี้กำไร
อย่างนี้กิจการในระดับชาวบ้านจะอยู่รอดได้อย่างไร
ซึ่งเมื่อชาวบ้านตาดำๆ ต้องมาเจอกับปัญหานี้
อย่างนี้เข้า
สิ่งที่ทำชาวบ้านทำได้ก็คือ แลซ้ายแลขวา เพื่อหาความช่วยเหลือจากใครก็ได้ที่ใจดีพอ
ที่จะหยิบยื่น
ความช่วยเหลือให้ได้
แม้ว่าจะต้องแลกทุกสิ่งก็ยอม
ด้วยเหตุนี้กิจการปล่อยเงินกู้เงินต่างๆ จึงได้เกิดขึ้นไปทั่ว และ
กิจการที่ว่านี้ก็ดำเนินการไปด้วยดีซะด้วย
ถึงแม้ว่าข้อตกลงในการทำสัญญานั้นจะมหาโหดขนาดไหน หรือจะถูก
เอาเปรียบมากมายเพียงไร
แต่สิ่งที่ชาวบ้านตาดำๆ ได้ตัดสินใจไปแล้ว ก็คือ การอ้อนวอนขอความเห็นใจจากเจ้า
ของเงิน
โดยแลกกับสิ่งตอบแทนเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละต่อวัน
และสิ่งเหล่านี้จึงเป็นที่มาของข่าวคราวเกี่ยวกับ
เงินกู้นอกระบบ
อันเป็นที่มาของการเรียกดอกเบี้ยแสนโหด และวิธีการทวงหนี้มหาโหด
ในวันนี้เราเลยต้องมา
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินนอกระบบ
ว่ามันเป็นอย่างไร
ในเรื่องการกู้ยืมเงิน (ไม่รวมการกู้ยืมเงินจากธนาคาร
หรือสถาบันการเงิน) ได้มีกฎหมายกำหนดระเบียบ และ
หลักเกณฑ์ของการกู้ยืมเงินเอาไว้
หลายฉบับ แต่โดยหลักใหญ่ๆ แล้ว จะมุ่งความสำคัญไปยังเรื่องของดอกเบี้ยเงินกู้
เป็นสำคัญ โดยกฎหมายได้กำหนดให้ผู้ให้กู้ยืมเงิน
สามารถเรียกเอาดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ทั้งนี้
ก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ให้กู้
เรียกร้องเอาดอกเบี้ยมากเกินสมควร
ซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้กู้ที่อยู่ในฐานะที่ลำบาก
และเสียเปรียบ
ทั้งในเรื่องความจำเป็นและความสามารถในการเจรจาต่อรอง ดังนั้นในเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ
และเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
แต่อย่างว่าละครับ
เมื่อมีกรอบให้ต้องปฏิบัติ ก็ย่อมจะมีคนที่เข้ามาท้าทาย
ซึ่งเป็นของคู่กับคนไทยมาช้า
นาน ที่เป็นอย่างนี้ก็เป็นเพราะผลตอบแทนที่ผู้ปล่อยเงินกู้จะได้รับกลับมานั้น
เป้นเงินจำนวนมาก จึงเป็นสิ่งที่ล่อใจ
ได้เสมอ และเมื่อมีการละเมิดฝ่าฝืนกฎหมาย
ก็ย่อมจะต้องมีบทลงโทษเอาไว้เป็นสิ่งตอบแทนสำหรับผู้กระทำความ
ผิดเสมอ โดยโทษที่ว่าก้คือ
จำคุกไม่เกิน 1 ปี
หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเป็นโทษตาม
พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
พ.ศ.2475
แต่ก็อย่างว่าละครับ โทษที่มีอยู่เป็นโทษทางอาญาที่ไม่รุน
แรง
จึงมีผู้คนจำนวนมากยอมเสี่ยงเพื่อแลกกับผลประโยชน์ที่มากกว่าที่รออยู่ข้างหน้า
มากกว่าจะเกรงกลัวต่อ
กฎหมาย ตามที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่บ่อยๆ
มีความผิดอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการให้กู้เงิน
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการโฆษณาเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินว่า หากมากู้เงิน
กับตนเองแล้ว
จะได้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยสูง มากกว่าธนาคาร หรือสถาบันการเงินอื่นๆ ซึ่งตามสภาพความเป็น
จริงแล้ว ผู้ให้กู้ไม่สามารถที่จะให้ดอกเบี้ย
หรือผลตอบแทนอย่างนั้นได้ เป็นเพียงการนำเงินที่ได้มาหมุนจ่าย ซึ่งหลัก
สำคัญในเรื่องนี้
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการให้ผลตอบแทนที่สูงมากว่าปกติ ในกรณีนี้ผู้ให้กู้เงินโดยวิธีนี้
ก็จะมีความผิด
ฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
มีโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปี ถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท
และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังทำการฝ่าฝืนอยู่ ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืม
เงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.
2527 ซึ่งบทลงโทษตามกฎหมายนี้
ค่อนข้างรุนแรง ดังนั้นอย่าไปเผลอทำเข้า
เชียว
สรุป
การกู้ยืมเงินนอกระบบ ก็คือการกู้ยืมเงินทั่วไป
แต่มีเงื่อนไขและวิธีการที่ไม่ถูกต้อง เช่น เงื่อนไขในการ
เรียกเก็บดอกเบี้ยที่มักจะเกินกว่าร้อยละ
15 ต่อปี
การเรียกเก็บหรือการทวงถามเงินที่กู้ยืม ก็ใช้วิธีบังคับขู่เข็ญ ข่มขู่
รวมไปถึงการทำร้ายร่างกาย เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น